การบริหารจัดการที่ดีต้องพร้อม”เปิดใจ”
ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถที่องค์กรจะสร้างสรรค์แรงขับเคลื่อน และทำให้แรงขับเคลื่อนนั้นคงอยู่ในองค์กรด้วยการเปิดใจให้กว้างและการตอบสนอง (feedback)
ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถที่องค์กรจะสร้างสรรค์แรงขับเคลื่อน และทำให้แรงขับเคลื่อนนั้นคงอยู่ในองค์กรด้วยการเปิดใจให้กว้างและการตอบสนอง (feedback)
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เชิญ คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด และที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ การเงินธุรกิจ และแฟรนไชส์ ดำเนินรายการ SME Clinic 8 ตอน เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ นำเสนอผ่าน Facebook และ Youtube ช่อง Bangkok Bank SME
ธุรกิจในระบบ แฟรนไชส์ ได้จัดระเบียบการทำงานให้ผู้ซื้อสิทธิ หรือแฟรนไชส์ซี สามารถดำเนินงานได้เอง เช่น จัดการเงิน จะมีระบบควบคุมและติดตาม แต่แฟรนไชส์ซี ต้องมีวินัย และประเมินตนเองเสมอ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เชิญคุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านแฟรนไชส์ ดำเนินรายการ Business Talk ตอน ภาพรวมธุรกิจ แฟรนไชส์ ประเทศไทย (ออกอากาศผ่านทางเวปไซต์ www.bangkokbanksme.com และ Facebook และ YouTube เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559)
เทคนิคการซื้อ แฟรนไชส์ จะช่วยให้ผู้ประกอบการ หรือนักลงทุน ลดความเสี่ยงในการลงทุน และได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินธุรกิจตามความคาดหวัง
มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มองเป็นอันดับแรกคือระบบการปฏิบัติงาน มองถึงคุณภาพของสินค้าและมาตรฐานการให้บริการ มองข้ามการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแบรนด์) และแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์) คือเกณฑ์ มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่สำคัญมากเช่นกัน
แฟรนไชส์ซอร์ จะต้องมี แผนธุรกิจ ระบบการสนับสนุน ระบบการตลาด ระบบเทคโนโลยี และเครือข่ายแฟรนไชส์ซี เพื่อสร้างกำลังทีมงานเข้มแข็ง ต้องมี แผนการอบรม ต่อเนื่อง
กระบวนการตรวจ มาตรฐาน แฟรนไชส์ จะช่วยยกระดับการทำงานของแฟรนไชส์ซอร์ และดูแลแฟรนไชส์ซีสามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย ด้วยหลักการ Plan Do Check Act
วิเคราะห์ร้านอาหาร (ก่อนขยายสาขา) คือหนึ่งในหัวข้อสำคัญของหลักสูตรกลยุทธ์การขยายสาขาอย่างมืออาชีพ จัดโดยสถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร (Food Franchise Institute) และสถาบันพีเพิ่ลเทรนนิ่ง ซึ่งเมื่อวันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2558 สถาบันฯได้เชิญ คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์ การเงินธุรกิจ และแฟรนไชส์ เป็นวิทยากรเรื่อง วิเคราะห์ร้านอาหาร (ก่อนขยายสาขา)
อ่านงบการเงิน เพื่อเข้าใจและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของกิจการที่ผ่านมา เช่นมีรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไร จากการทุ่มเททำธุรกิจในระยะเวลาหนึ่ง และ งบการเงิน บอกสถานะทางการเงิน ณ เวลานั้นว่า มีสินทรัพย์ มีหนี้สิน และมีมูลค่าธุรกิจทางบัญชีเป็นอย่างไร
ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up) หรือกำลังจะขยายกิจการ แม้จะมีรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจ (Business Model) แต่มักประสบปัญหาไม่สามารถหาเงินทุนจากนักลงทุนหรือสถาบันการเงินมาสนับสนุนโครงการได้ สาเหตุส่วนใหญ่ของความล้มเหลวคือ ผู้ประกอบการไม่สามารถอธิบาย หรือนำเสนอแนวคิดธุรกิจได้อย่างชัดเจน และไม่สามารถตอบคำถามใหญ่ๆ 3 ข้อที่นักลงทุน หรือเจ้าหนี้สถาบันการเงินชอบถาม
การบริหารเงินสดในภาวะวิกฤติ โดยการบริหารสภาพคล่องของธุรกิจ SME ควรมีเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการได้แก่ งบประมาณเงินสด เป็นต้น จะได้ประเมินว่าจะมีรายการเงินสดรับ รายการที่เกี่ยวข้องกับเงินสดจ่ายเข้ามาเมื่อไร ซึ่งถ้าเงินสดรับเข้ามาช้ากว่ารายการที่ต้องจ่ายออกไปและเงินสดคงเหลือมีเหลือน้อย อาการนี้เรียกกันบ่อยๆ คือ “หมุนไม่ทัน” หรือ “เงินชักหน้าไม่ถึงหลัง” ซึ่งอย่าให้ถึงกับว่าต้อง “ชักดาบ” กันเลย
การจัดทำงบประมาณประจำปีของบริษัท ไม่เพียงแค่ฝ่ายบัญชีการเงินจะตื่นตระหนกแล้ว ทุกฝ่ายหรือทุกแผนกควรมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน จะว่าไปแล้วการทำงบประมาณหรือ Budget ก็เหมือนกับกับการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าว่าบริษัทจะเติบโตหรือขยับตัวไปทิศทางไหน สอดคล้องกับแผนธุรกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายของบริษัทอย่างไร ทั้งๆ ที่พนักงานทุกคนลงมือลงแรงลงความคิดในการทำงานเป็นชีวิตประจำวันกันทั้งนั้น แต่พอให้ทำงบประมาณในปีหน้า ถึงกับเครียดกันเป็นแถบ
หลังจากที่สถาบันการเงินวิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณ หรือโครงการที่จะขอสินเชื่อสนับสนุนนั้น มีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่าน่าลงทุน และแสดงให้เห็นความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ได้แล้ว ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 “คุ้ม” สถาบันการเงินหรือธนาคารจะพิจารณาการประกันความเสี่ยงการให้สินเชื่อโดยการขอให้นักลงทุนนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ (Collateral)
เมื่อธุรกิจต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการ เพื่อใช้ซื้อวัตถุดิบ เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง หรือแม้กระทั่งเริ่มต้นธุรกิจใหม่ก็ตาม ในขณะที่เงินทุนจากเงินออมส่วนตัว และจัดหามาจากคนใกล้ชิดรวมกันแล้วยังไม่เพียงพอต่องบประมาณที่คาดหวังไว้ ทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการมองหาคือ ขอสินเชื่อจากธนาคาร จากสถาบันการเงินต่างๆ แล้วคุณเคยมีประสบการณ์การขอสินเชื่อหรือยัง