
ปัญหาด้าน จัดการเงิน ของ แฟรนไชส์ซี
เมื่อลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว แฟรนไชส์ซี จัดการเงิน และดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ทั้งๆ ที่รูปแบบการดำเนินงานจะทำตามเจ้าของแฟรนไชส์แล้วก็ตาม ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านขาดสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ผันแปร
รายการ SME Clinic โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เชิญ คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษาด้านการกลยุทธ์ การเงินธุรกิจ และระบบแฟรนไชส์ มาแบ่งปันความรู้ด้าน จัดการเงินให้อยู่รอด และเติบอย่างไร
ประเด็นพูดคุยในเทปที่ 1 ได้แก่
- ปัญหาด้านการจัดการทางการเงินของ แฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี มีความเหมือนและความแตกต่างอย่างไร
- การหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุน แฟรนไชส์
- คุณลักษณะแฟรนไชส์ที่ได้รับมาตรฐานแฟรนไชส์ จะช่วยให้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น จริงหรือไม่
https://www.youtube.com/watch?time_continue=19&v=oTJLaBFulPUhttps://www.youtube.com/watch?time_continue=19&v=mkKcZzdvC04
ประเด็นพูดคุยในเทปที่ 2 ได้แก่
- เข้าใจโครงสร้างการลงทุน โครงสร้างการเงินของรูปแบบแฟรนไชส์ วิเคราะห์ผลตอบแทน วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ ค่าการตลาด เป็นต้น
- การประเมินเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบริหารสภาพคล่อง ตามรูปแบบแฟรนไชส์ (Prototype)
- การบริหารการเงินของแฟรนไชส์ซี ได้แก่การวางแผน การประมาณการล่วงหน้า กระแสเงินสด การใช้ POS และระบบบัญชีการเงิน หรือ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ แนะนำว่าการบริหารการจัดการเงิน และการดำเนินธุรกิจของ แฟรนไชส์ซี นั้นควรเริ่มต้นทำตามรูปแบบการดำเนินงานของแฟรนไชส์ซอร์ ที่จัดทำโครงสร้างการเงิน การลงทุนมาให้ และเมื่อดำเนินงานแล้ว ควรเก็บบันทึกข้อมูลจริง เปรียบเทียบกับข้อมูลประมาณการหรือข้อมูลต้นแบบของแฟรนไชส์ซอร์ ว่ามีความเหมือนและความต่างอย่างไร
วิเคราะห์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ บริหารกระแสเงินสด โดยจะต้องทำงบประมาณเงินสดล่วงหน้า และสำรองเงินสดขั้นต่ำ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
แฟรนไชส์ซี จะสามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่ และเติบโตได้
หากมีคำถาม หรือข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อได้ที่ contact@gnosisadvisory.com
หรือเข้ามา Inbox ที่ https://www.facebook.com/gnosisadvisory/