ทำเล ค้าขาย สุดปัง ท้าโควิด

ทำเล ค้าขาย ที่เคยดึงดูดลูกค้าจำนวนมาก ได้เปลี่ยนไปแล้ว

ทำเล ค้าขาย หลังเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2563 เรื่อยมา เช่น ในศูนย์การค้า หรือ ห้างสรรพสินค้า เคยเป็นทำเลเป้าหมายของ พ่อค้าแม่ค้า หรือผู้ประกอบการธุรกิจ เคยยอมทุ่มเงินเพื่อจับจองพื้นที่ทำธุรกิจเห็นกำไรงาม เพราะ ห้างฯ เป็นสถานที่สะดวกสบายสำหรับลูกค้ามาช้อปปิ้ง มารับประทานอาหาร มาใช้บริการ มาเรียนหนังสือ มาทำกิจกรรม มีทุกสิ่งให้เลือกสรรอีกมากมาย ส่วนใหญ่ห้างจะอยู่ในจุดศูนย์กลางของการเดินทาง ทั้งรถสาธารณะต่าง ๆ เรียกได้ว่า คือศูนย์รวมของผู้คนมาพบปะกัน

แต่เมื่อมีแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การรวมตัวคนจำนวนมากคือความเสี่ยงในการแพร่ระบาด จึงมีมาตรการทั้งเรื่อง จำกัดปริมาณคนเข้าร้าน ลดเวลาในการเปิดดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหาร ไม่สามารถนั่งรับประทานในร้านได้ ต้องซื้อกลับบ้าน (Take-Away) ยิ่งลูกค้าสามารถสั่งดิลิเวอรี่ (Food Delivery) ได้ด้วย จำนวนลูกค้าเข้าน้อยลง ทำให้รายได้ของร้านค้าในห้างไม่ได้เท่าเดิม ขณะที่ค่าเช่าร้านในห้างยังสูงเหมือนเดิม ยกเว้นบางห้างมีมาตรการช่วยเหลือลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ

มีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้าจะกลับมาดำเนินได้ตามปกติ แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันว่า พฤติกรรมของลูกค้ากำลังเปลี่ยนไปแล้ว เคยชินกับความสะดวกสบาย ต้องการบริการที่เข้าถึงง่าย เดินทางสะดวก จะไม่ขับรถวนหาที่จอดรถบนตึกให้เสียเวลาถ้าห้างนั้น ๆ ไม่มีอะไรน่าสนใจ จะเดินทางไปเมื่อจำเป็นเท่านั้น และใช้เวลาให้คุ้มค่า ถ้าร้านค้าอยู่ใกล้ ๆ ก็จะเดินไป หรือขับรถไป ถ้ามีร้านค้าบริการในตึกเดียวกัน ก็เลือกใช้บริการในตึกก่อน เช่นในอาคารสำนักงาน

เพื่อเป็นทางเลือก ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้ายุคโควิด ทีม จีโนซิส ขอนำเสนอทำเลที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภค ดังต่อไปนี้

1. ทำเล ค้าขาย ในสถานีน้ำมัน หรือปั้มน้ำมัน

ปั้มน้ำมันที่มีพื้นที่หรือห้องให้เช่าค้าขาย ทำเลตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการจอดรถหน้าร้านลงไปซื้อของได้สะดวก ปั้มน้ำมันส่วนมากอยู่ริมถนนจึงสะดวกในการเดินทางของลูกค้าที่ใช้รถยนต์ นอกจากมาเติมน้ำมันแล้วก็จะแวะซื้ออาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนตัว หรือใช้บริการขนส่งสินค้า ใช้บริการธุรกรรมกับธนาคาร ใช้บริการซักผ้า ใช้บริการตัดผมตัดเล็บ ทำสปา เป็นต้น  ซึ่งสถานีน้ำมันหลาย ๆ    แบรนด์ได้ปรับภาพลักษณ์สถานีให้ดูทันสมัย สีสันสวยงาม สะอาดเรียบร้อย มีการจัดการพื้นที่จอดรถให้เพียงพอและมีการทำการตลาดท้องถิ่นเพื่อดึงดูดลูกค้าในชุมชนให้มาใช้บริการด้วย

ปั้มน้ำมันมีรูปแบบ ขนาดพื้นที่ และทำเลแตกต่างกัน ได้แก่ ปั้มน้ำมันในใจกลางเมือง ปั้มน้ำมันในเมืองใหญ่ ปั้มน้ำมันบนทางหลวงตามจุดเข้าออกจังหวัดหรือเกตเวย์ (Gateway) ปั้มน้ำมันบนเส้นไฮเวย์ และปั้มน้ำมันในแหล่งชุมชนหรือบนถนนเส้นรอง

การเลือกเปิดร้านในปั้มน้ำมัน ผู้ประกอบธุรกิจต้องเข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าของเราคือใคร อยู่พื้นที่โซนไหน ใช้การเดินทางด้วยอะไร ปั้มน้ำมันนั้นมีจำนวนลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากพอ สอบถามปั้มน้ำมันว่า มีจำนวนรถวิ่งผ่านหน้าปั้มกี่คันต่อวัน ยอดจำหน่ายน้ำมันประมาณการ (ลิตรต่อเดือน)เท่าไร สัดส่วนยอดขายน้ำมันระหว่างเบนซินและดีเซล จะคาดการณ์ประเภทลูกค้าในพื้นที่ได้

การเลือกตำแหน่งของร้านค้าในปั้ม ลูกค้าต้องมองเห็นง่าย สังเกตร้านค้าในบริเวณเดียวกัน จะส่งเสริมธุรกิจด้วยกัน หรือแข่งขันกันอย่างไร ส่วนใหญ่ปั้มจะแบ่งโซนร้านสะดวกซื้อและร้านอาหารอยู่บริเวณใกล้กันในพื้นที่ส่วนหน้า และร้านค้าบริการหรือร้านไม่ได้ขายอาหารจะอยู่ในพื้นที่ลึกเข้าไปด้านใน เพื่อมีพื้นที่จอดรถมากกว่า ลูกค้าใช้เวลาในการเดินนานกว่า

นอกจากนี้ จะต้องสอบถามว่า ปั้มจะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง เช่นระบบไฟฟ้า ระบบประปา รูปแบบอาคาร ค่าใช้จ่ายส่วนกลางคืออะไร มีป้ายโฆษณาให้หน้าปั้มหรือไม่ เป็นต้น

ตัวอย่างงานจับคู่ธุรกิจ เปิดร้านค้าลงในสถานีน้ำมัน ปตท.

งานจับคู่ธุรกิจ PTTOR งานจับคู่ธุรกิจ สถานีน้ำมัน งานจับคู่ธุรกิจ PTTOR และคู่ค้า งานจับคู่ธุรกิจ สถานีน้ำมัน และ เศรษฐพงศ์ จีโนซิส สนใจเปิดร้านค้าในสถานีน้ำมันปตท. ติดต่อ จีโนซิส ส่งชื่อ และประเภทธุรกิจ พร้อมเบอร์ติดต่อมาที่ email: contact@gnosisadvisory.com

2. ทำเล ค้าขาย ในอาคารสำนักงาน

ตอบโจทย์คนทำงานประจำอยู่ในอาคาร ข้อดีของอาคารสำนักงาน คือประมาณการจำนวนลูกค้าในอาคารได้ง่าย มีลูกค้าประจำ ผู้ประกอบการสามารถบริหารเวลาการทำงานได้ ช่วงเวลาขายชัดเจน แต่ข้อเสียคือ เวลาขายจะขึ้นกับเวลาทำการของอาคารสำนักงาน จำกัดการเพิ่มขึ้นของรายได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการประกาศขอความร่วมมือให้มีการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) รายได้อาจจะตกลงแต่ก็สามารถประมาณวัตถุดิบให้เพียงพอต่อวัน และค่าเช่าส่วนใหญ่จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย หรือเรียกว่า GP

สำหรับร้านอาหารที่มองโอกาสเปิดขายในอาคารสำนักงาน ควรใช้หัวข้อต่อไปนี้ในการพิจารณาด้วย

  • โดยปกติแล้ว ศูนย์อาหารในอาคารสำนักงาน จะวางผัง (layout) พื้นที่ครัว พื้นที่นั่ง และสร้างครัวมาตรฐานให้กับร้านอาหาร ช่วยให้ร้านอาหารสามารถเข้ามาดำเนินงานได้เลย เพียงนำวัตถุดิบอาหารและอุปกรณ์เฉพาะของร้านมาเปิดขายได้ จึงไม่ต้องลงทุนในการสร้างร้านใหม่ จะว่าไปแล้วค่า GP ก็เปรียบเสมือนค่าเช่าสถานที่ รวมค่าเช่าอุปกรณ์ และงานบริการส่วนกลางเช่น การทำความสะอาด การล้างจาน เป็นต้น
  • ผู้บริหารศูนย์อาหาร หรือ ฟู้ดคอร์ท (Food Court) นั้นมีประสบการณ์ในการบริหารอย่างไร มีอำนาจในการต่อรองกับฝ่ายอาคารนั้นมากน้อยแค่ไหน มีแผนการตลาดในการโปรโมทหรือกระตุ้นรายได้อย่างไร
  • พื้นที่รอบ ๆ อาคารมีตลาดนัดกลางวันเปิดกี่แห่ง และเปิดกี่วัน เพราะเป็นคู่แข่งขันทางการค้าสำหรับร้านอาหารในฟู้ดคอร์ท
  • รอบ ๆ อาคารสำนักงาน มีอาคารอื่น ๆ อีกหรือไม่ เช่นคอนโดมิเนียม จะเพิ่มโอกาสในการขายเพิ่มขึ้น
  • ระยะเวลาการขายต่อวัน
  • ฟู้ดคอร์ท เปิดโอกาสให้ร้านอาหารขายแบบ Take Away หรือ สั่งดิลิเวอรรี่ หรือไม่ หรือสามารถใช้เป็น Cloud Kitchen หรือครัวกลางในการกระจายส่งอาหารในพื้นที่ใกล้เคียง รัศมีประมาณ 5 กิโลเมตรได้หรือไม่ จักเป็นโอกาสในการสร้างร้ายได้ให้กับร้านอาหารใน ฟู้ดคอร์ท

3. ทำเล ค้าขาย ใน Cloud Kitchen

คลาวด์คิตเชน คือการใช้ครัวร่วมกันของธุรกิจร้านอาหารมารวมอยู่ในที่เดียวกัน ปรุงอาหารและส่งขายอาหารโดยไม่ต้องมีหน้าร้าน ส่งขายผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารต่าง ๆ ผู้สร้าง Cloud Kitchen จะสร้างครัวมาตรฐาน สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ร้านอาหารมาเปิดขายได้ ดังนั้นข้อดีของร้านอาหารคือ ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างร้านเอง อย่างไรก็ดี Cloud Kitchen เหมาะสำหรับธุรกิจร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วไป จะลดค่าใช้จ่ายในการตลาด และสามารถขยายสาขา เพิ่มปริมาณการขายได้เร็ว เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย โดยทั่วไปร้านอาหาร ต้องนำทีมครัวของร้านไปประจำในครัวด้วย ดังนั้นร้านอาหารต้องพัฒนาและฝึกอบรมพัฒนาคนให้รักษามาตฐาน และคุณภาพเสมอ

ผู้บริหาร Cloud Kitchen ต้องการยอดขายเพิ่มขึ้น และรักษาคุณภาพเสมอ หากร้านค้าใด ที่ทำยอดขายไม่ถึงเป้าหมาย หรือไม่ถึงจุดคุ้มทุน ร้านอาหารนั้น ๆ อาจต้องถูกเชิญออกจากครัวนี้ไป ดังนั้นเข้ามาง่ายก็ออกไปง่ายเช่นกันถ้าไม่สามารถทำยอดขายให้ตามเป้าหมาย

ค่าบริการของ Cloud Kitchen อาจเก็บในการให้เช่าสถานที่และอุปกรณ์ในรูปแบบค่าเช่าคงที่ต่อเดือน หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตามจำนวนออเดอร์ที่ร้านอาหารนั้นขายได้

ในบาง Cloud Kitchen จะบริหารจัดการเองทั้งหมดโดยซื้อสิทธิ แฟรนไชส์ ของร้านอาหารนั้นมาเปิดในครัว และใช้ทีมของตนเองในการดำเนินงาน ซึ่งที่ผ่านมาครัวลักษณะนี้สร้างผลตอบแทนให้กับร้านอาหารดีกว่า เพราะร้านอาหารไม่ต้องส่งทีมทำในครัว ไม่ต้องบริหารการขายเอง ไม่ต้องทำการตลาดเอง ไม่ต้องจ่ายค่า GP กับ ฟู้ดดิลเวอรี่เอง ในขณะที่ร้านอาหารสามารถขายวัตถุดิบ หรือสูตรลับเป็นรายได้เสริมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารนั้นก็ควรต้องติดตามดูมาตรฐานและคุณภาพของอาหารที่ส่งออกจากครัวด้วย เพราะยังไงชื่อหรือแบรนด์ของร้านจะติดตามไปถึงลูกค้าเสมอ

ตัวอย่าง คลาวด์คิตเชน น่าสนใจได้แก่ “GrabKitchen by Every Foood” บริหารงานโดย CRG (Central Restaurant Group) บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับ แกร็บ ประเทศไทย ปัจจุบันมี 5 สาขา ได้แก่ ทองหล่อ ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า สาทร และนาคนิวาส สำหรับแผนขยายสาขา มีแผนขยายไปยังต่างจังหวัดตามหัวเมืองหลักๆ ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 โดยตั้งเป้าหมายเปิดสาขา เน้นให้ครอบคลุมและเข้าถึงลูกค้าให้มากที่สุด ทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด อ้างอิงจากข่าว CRG ผนึก GRAB ลุยคลาวด์คิตเชน เปิด GrabKitchen by Every Food

บทสรุป

ทำเล ทั้งสามรูปแบบข้างต้นตอบสนองพฤติกรรมของลูกค้ายุคโควิดนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันตามลูกค้าให้เจอ หาพื้นที่ให้ตรงกับธุรกิจ และปรับรูปแบบการให้บริการให้ตรงกับทำเลด้วย อย่างไรก็ดี การพิจารณาผู้บริหารทำเล และประสบการณ์ในการจัดการทำเลนั้น ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ทั้งนี้ ทีม จีโนซิส พร้อมให้คำแนะนำผู้ประกอบการที่สนใจจะเปิดธุรกิจใน ทำเล ค้าขาย เหล่านี้ กรุณาติดต่อเราได้ที่ Line id: gnosisadvisory หรือโทรมาที่เบอร์ 0969796451

ทำเล ค้าขาย สุดปัง

บทความโดย เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ , CFE บริษัท จีโนซิส จำกัด

Khiang Osaka เขียง ยกระดับสตรีทฟู้ดไทย สู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka “เขียง” ยกระดับสตรีทฟู้ดไทยสู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka ร้านเขียง อาหารไทยสตรีทฟู้ด เปิดสาขาแฟรนไชส์แรกใจกลางโอซาก้า ญี่ปุ่น เสิร์ฟความอร่อยต้นตำรับไทยในราคาเข้าถึงได้ จีโนซิส มืออาชีพจับคู่ธุรกิจ ร่วมแสดงความยินดีกับแฟรนไชส์ซี และทีมบริหาร Zen Group

อ่านต่อ »
ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ สิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ให้คำแนะนำการเลือกแฟรนไชส์น่าลงทุน 17 แบรนด์ดังให้เหมาะกับคุณ ปรึกษาแบบส่วนตัว จองเวลานัดในเวลา 9.00-17.00 น. วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม InterContinental ถนนเพลินจิต

อ่านต่อ »
International Franchise Show in Seoul Korea, 2024

งานแฟรนไชส์เกาหลี 2024 รอแฟรนไชส์ไทยมาร่วมงาน

เชิญชวนผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยออก งานแฟรนไชส์เกาหลี 2024 International Franchise Show วันที่ 21 – 23 มีนาคม 67 และวันที่ 31 ต.ค. – 2 พ.ย. 67 จัดที่ Coex กรุงโซล ติดต่อจองบูธหรือสอบถามข้อมูลกับ จีโนซิส (ตัวแทนรับอนุญาตในประเทศไทย)

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis