แฟรนไชส์ซี จัดการเงินให้อยู่รอด และเติบโตอย่างไร (วิดีโอ)

แฟรนไชส์ซี จัดการเงินอย่างไร

ปัญหาหนักอกของแฟรนไชส์ซีคือ เมื่อลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว แฟรนไชส์ซี จัดการเงิน และ ดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ทั้งๆ ที่รูปแบบการดำเนินงานจะทำตามเจ้าของแฟรนไชส์แล้วก็ตาม ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านขาดสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ผันแปร หรือปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งถึงแม้ แฟรนไชส์ซอร์จะมีแผนป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ แฟรนไชส์ซีจะต้องปฏิบัติตาม และประเมินผลประกระทบแจ้งให้กับ แฟรนไชส์ซอร์ รับทราบ

ทั้งนี้ รายการ SME Clinic โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เชิญ คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษาด้านการกลยุทธ์ การเงินธุรกิจ และระบบแฟรนไชส์ มาแบ่งปันความรู้ด้าน จัดการเงินให้อยู่รอด และเติบอย่างไร (ดูวิดีโอคลิปข้างล่าง)

ประเด็นพูดคุยในเทปที่ 1 ได้แก่

  • ปัญหาด้านการจัดการทางการเงินของ แฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี มีความเหมือนและความแตกต่างอย่างไร
  • การหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุน แฟรนไชส์
  • คุณลักษณะแฟรนไชส์ที่ได้รับมาตรฐานแฟรนไชส์ จะช่วยให้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น จริงหรือไม่

ประเด็นพูดคุยในเทปที่ 2 ได้แก่

  • เข้าใจโครงสร้างการลงทุน โครงสร้างการเงินของรูปแบบแฟรนไชส์ วิเคราะห์ผลตอบแทน วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน
  • ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์  ได้แก่ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ ค่าการตลาด เป็นต้น
  • การประเมินเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบริหารสภาพคล่อง ตามรูปแบบแฟรนไชส์ (Prototype)
  • การบริหารการเงินของแฟรนไชส์ซี ได้แก่การวางแผน การประมาณการล่วงหน้า กระแสเงินสด การใช้ POS  และระบบบัญชีการเงิน หรือ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
แฟรนไชส์ซี จัดการเงิน

คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ให้สัมภาษณ์ในรายการของ ธนาคารกรุงเทพ เรื่อง การจัดการเงินของแฟรนไชส์ซี ต้องบริหารอย่างไรให้อยู่รอด

 

คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ แนะนำว่าการบริหารการจัดการเงิน และการดำเนินธุรกิจของ แฟรนไชส์ซี นั้นควรเริ่มต้นทำตามรูปแบบการดำเนินงานที่แฟรนไชส์ซอร์จัดทำโครงสร้างการเงินการลงทุนมาให้ และเมื่อดำเนินงานแล้ว ควรเก็บบันทึกข้อมูลจริง เปรียบเทียบกับข้อมูลประมาณการหรือข้อมูลต้นแบบของแฟรนไชส์ซอร์ ว่ามีความเหมือนและความต่างอย่างไร

วิเคราะห์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ บริหารกระแสเงินสด โดยจะต้องทำงบประมาณเงินสดล่วงหน้า และสำรองเงินสดขั้นต่ำ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน

แฟรนไชส์ซี จะสามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด และเติบโตได้

หากมีคำถาม หรือข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อได้ที่ contact@gnosisadvisory.com 
หรือเข้ามา Inbox ที่ https://www.facebook.com/gnosisadvisory/

ดูงานบริการให้คำปรึกษาของจีโนซิส ได้ที่ https://www.gnosisadvisory.com/services/

Jump Start Franchise by GSB เรียนฟรี 27-28 เมษายน 2567

Jump Start Franchise 2024 โดยธนาคารออมสิน

Jump Start Franchise 2024 by GSB หลักสูตรเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้วยระบบแฟรนไชส์ แชร์ประสบการณ์โดยผู้ประกอบการตัวจริง และผู้เชี่ยวชาญตรงสาขา เช่นมืออาชีพสร้างระบบแฟรนไชส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และผู้เชี่ยวชาญการตลาด รวมทั้งสิทธิพิเศษกับบริการด้านการเงินจากธนาคารออมสิน

อ่านต่อ »
Khiang Osaka เขียง ยกระดับสตรีทฟู้ดไทย สู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka “เขียง” ยกระดับสตรีทฟู้ดไทยสู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka ร้านเขียง อาหารไทยสตรีทฟู้ด เปิดสาขาแฟรนไชส์แรกใจกลางโอซาก้า ญี่ปุ่น เสิร์ฟความอร่อยต้นตำรับไทยในราคาเข้าถึงได้ จีโนซิส มืออาชีพจับคู่ธุรกิจ ร่วมแสดงความยินดีกับแฟรนไชส์ซี และทีมบริหาร Zen Group

อ่านต่อ »
ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ สิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ให้คำแนะนำการเลือกแฟรนไชส์น่าลงทุน 17 แบรนด์ดังให้เหมาะกับคุณ ปรึกษาแบบส่วนตัว จองเวลานัดในเวลา 9.00-17.00 น. วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม InterContinental ถนนเพลินจิต

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis