สรุปแฟรนไชส์ปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 (2021)

สถานการณ์ แฟรนไชส์ ใน ปี 2563 – 2564

สถานการณ์ แฟรนไชส์ ในปี พ.ศ. 2563 (2020)

ในปีที่ผ่านมา (2563) แฟรนไชส์ ได้รับความสนใจมาก เพราะมีกลุ่มนักลงทุนหน้าใหม่มองหาแหล่งรายได้ใหม่ หรือรายได้เสริม หลังจากงานประจำเริ่มสั่นคลอน ทั้งถูกลดเวลาการทำงาน และลดเงินเดือน จนถึงถูกเลิกจ้าง สาเหตุใหญ่คือ สถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด19 ที่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจทุกภาคส่วน กลุ่มนักลงทุนนั้นแยกได้ 2 กลุ่มหลัก คือ

กลุ่มซื้อ แฟรนไชส์ เดิมที่มีอยู่ในตลาดมาลงทุน (เป็นแฟรนไชส์ซี) และ

กลุ่มสร้าง แฟรนไชส์ ใหม่เข้ามาในตลาด (เป็นแฟรนไชส์ซอร์ หน้าใหม่)

ถ้าค้นหาคำว่า แฟรนไชส์ และวิเคราะห์ตาม Google Trend จะพบว่ามีการสืบค้นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะหลังจากเดือนเมษายน 63 มีการค้นหามากขึ้น และธุรกิจติดอันดับการค้นหาได้แก่ ชานมไข่มุก วาฟเฟิลฮ่องกง ไก่ทอด หมูกระทะ บริการขนส่ง ร้านสะดวกซื้อ และ ร้านสะดวกซัก (ร้านซักผ้า) เป็นต้น (ขออนุญาตไม่ใส่ชื่อแบรนด์ให้นะครับ)

อีกแหล่งข้อมูลหนึ่งคือในงานแฟรนไชส์ใหญ่ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จะเห็นร้านสะดวกซัก 13 แบรนด์มาเปิดขายแฟรนไชส์มากที่สุด รองลงมาเป็นประเภทเบเกอรี่ ขนมและเครื่องดื่มต่าง ๆ

แนวโน้มของ แฟรนไชส์ ปี 2564 (2021)

เราเชื่อว่า วิธีการฝ่าวิกฤตนอกเหนือจากที่ทุกธุรกิจต้องรู้จักปรับตัวตลอดเวลาแล้วนั้น นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะกระตุ้นให้มีการจับจ่าย และสถาบันการเงินเพิ่มวงเงินสินเชื่อธุรกิจส่งเสริมให้ทำธุรกิจคล่องตัว และส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่ เช่นการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งได้พิสูจน์มาแล้วว่าลงทุนได้ผลตอบแทน มีความเสี่ยงน้อยกว่าเริ่มต้นธุรกิจเอง เพราะมีเจ้าของแฟรนไชส์ดูแลและสนับสนุนให้แฟรนไชส์ซีทำธุรกิจได้ตามที่ตกลง

มูลค่าตลาดแฟรนไชส์ทั้งปี2564 คาดว่าประมาณ 300,000 ล้านบาท โดยสมมติฐานจำนวนรวมร้านสาขาแฟรนไชส์ 100,000 สาขา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 250,000 บาทต่อสาขา เราเชื่อว่า จะมีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าเดิมในพื้นที่ใหม่ และคาดว่าจะมีจำนวนร้านสาขาแฟรนไชส์ซีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีก 5,000 สาขาทั่วประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดย่อมหรือเรียกว่า “แฟรนไชส์สร้างอาชีพ”เงินลงทุนไม่เกินห้าหมื่นบาท ธุรกิจประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ขนมทานเล่น ทำเลขายทั่วไปใกล้แหล่งชุมชน และตลาดนัด

แฟรนไชส์ประเภทไหน มาแรง และมีโอกาสโต ในปีพ.ศ. 2564 (2021)

ธุรกิจต้องตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ในเรื่อง ความสะดวก เข้าถึงง่าย ลดการสัมผัส มีความสะอาดสุขอนามัย ใช้งานด้วยระบบดิจิทัลเทคโนโลยีได้ดี และคุ้มค่าการลงทุน

ได้แก่

  1. แฟรนไชส์ ธุรกิจร้านสะดวกซัก ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกในทำเลใหม่ ๆ แม้ว่าจะมีการแข่งขันสูงแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่ชอบไลฟ์สไตล์แบบนี้
  2. แฟรนไชส์ ธุรกิจร้านสะดวกส่ง ประเภทบริการรับส่งสินค้า บริการแพ็ค และเก็บสินค้า หรือพื้นที่ให้เช่าเก็บสินค้า
  3. แฟรนไชส์ ธุรกิจร้านสะดวกทาน ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหารไทยตามสั่ง ขนาดพื้นที่ประมาณ 40-50 ตรม. เปิดร้านนอกห้าง และมีบริการ Food Delivery เน้นเรื่องความสะอาด ทานง่าย ทานสะดวก อร่อยคุ้มค่า เชื่อว่ากระแสร้านอาหารไทยจานเดียวจะมีเมนูสร้างสรรค์และสร้างความแตกต่างออกมาอีกมาก
  4. แฟรนไชส์ ธุรกิจร้านขนมปัง และเครื่องดื่ม เน้นแบบ Grab-n-Go คือซื้อทานได้เลย ไม่ต้องมีที่นั่ง เป็นของฝาก หรือ Snack box แต่ความพิเศษอยู่ที่เมนูโดดเด่น ไม่เหมือนใคร มีดีไซน์ และฉีกกฎของขนมปังหรือเครื่องดื่มแบบเดิม ๆ

โอกาสของแฟรนไชส์ไทยก้าวออกไปตลาดต่างประเทศในปี 2564

เมื่อมีการจำกัดการเดินทางไปต่างประเทศ เราเชื่อว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดถึงธุรกิจการค้าและสินค้าของไทย ซึ่งแฟรนไชส์ไทย เปรียบเสมือนทูตวัฒนธรรมได้ แฟรนไชส์ไทย ที่เปิดสาขาไปแล้วในต่างประเทศ น่าจะมีโอกาสขยายได้เพิ่มขึ้น สำหรับแฟรนไชส์ไทยที่จะออกไปใหม่ ต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสื่อต่างประเทศ (Brand awareness) และมี ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ที่มีเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ หรือได้รับคำแนะนำจาก ทูตพาณิชย์ไทยประจำประเทศเป้าหมาย เพื่อจะสามารถเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนตัวจริงได้

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องการแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศเข้ามาขยายในไทยเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทยที่ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ปกติ เราจะเห็นแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ เปิดตัวในปี 2564 อีกหลายแบรนด์ ทั้งธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจบริการต่าง ๆ

อย่างไรก็ดี การเจรจาธุรกิจซื้อขายแฟรนไชส์ จะต้องใช้เวลานานกว่าปกติ ถึงแม้การติดต่อเจรจาธุรกิจจะทำได้ง่ายด้วยระบบประชุมออนไลน์แล้ว แต่มีปัญหาในเรื่องการทดสอบสินค้า และประเมินความเป็นไปได้ธุรกิจในแต่ละประเทศ ดังนั้นทีมแฟรนไชส์ต้องศึกษาความเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย เช่น กฎระเบียบในการนำเข้าส่งออก กฎหมายแฟรนไชส์ กฎเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การจ้างงาน ต้นทุนการขนส่ง Logistic และความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

ประเทศเป้าหมายในการขยายแฟรนไชส์ เราแนะนำให้พิจารณาประเทศในกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

RCEP ซึ่งประกอบด้วยประเทศอาเซียนทั้ง 10 และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามข้อตกลงนี้จะได้ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน

 

บทความโดย เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์, CFE

กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด

(บทคัดย่อ : แฟรนไชส์ในปี 63 ได้รับความสนใจมากสวนกระแสวิกฤติเศรษฐกิจ และแนวโน้มปี 64 แฟรนไชส์จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งเสริมให้มีการจ้างงาน มีการลงทุนภายในประเทศ และมีเงินหมุนเวียน แฟรนไชส์ไทยมีโอกาสขยายต่างประเทศเพิ่มขึ้น และมีแฟรนไชส์ต่างประเทศเปิดตัวในไทยอีกหลายแบรนด์ปีนี้)

Jump Start Franchise by GSB เรียนฟรี 27-28 เมษายน 2567

Jump Start Franchise 2024 โดยธนาคารออมสิน

Jump Start Franchise 2024 by GSB หลักสูตรเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้วยระบบแฟรนไชส์ แชร์ประสบการณ์โดยผู้ประกอบการตัวจริง และผู้เชี่ยวชาญตรงสาขา เช่นมืออาชีพสร้างระบบแฟรนไชส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และผู้เชี่ยวชาญการตลาด รวมทั้งสิทธิพิเศษกับบริการด้านการเงินจากธนาคารออมสิน

อ่านต่อ »
Khiang Osaka เขียง ยกระดับสตรีทฟู้ดไทย สู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka “เขียง” ยกระดับสตรีทฟู้ดไทยสู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka ร้านเขียง อาหารไทยสตรีทฟู้ด เปิดสาขาแฟรนไชส์แรกใจกลางโอซาก้า ญี่ปุ่น เสิร์ฟความอร่อยต้นตำรับไทยในราคาเข้าถึงได้ จีโนซิส มืออาชีพจับคู่ธุรกิจ ร่วมแสดงความยินดีกับแฟรนไชส์ซี และทีมบริหาร Zen Group

อ่านต่อ »
ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ สิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ให้คำแนะนำการเลือกแฟรนไชส์น่าลงทุน 17 แบรนด์ดังให้เหมาะกับคุณ ปรึกษาแบบส่วนตัว จองเวลานัดในเวลา 9.00-17.00 น. วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม InterContinental ถนนเพลินจิต

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis