รวมมาตรการของธนาคาร ช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบอุทกภัย (2)

มาตราการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของธนาคารต่างๆ

ต่อจากบทความ “รวมมาตรการของธนาคาร ช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบอุทกภัย (1)” ยังมีอีกหลายธนาคารที่เตรียมมาตรการช่วยเหลือลูกค้าของตัวเอง และเปิดรับลูกค้าใหม่ ซึ่งวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ (ก.ย.-พ.ย. 2554) กระทบทุกระดับรายได้ และทุกขนาดของธุรกิจ และหลายพื้นที่ ดังนั้นเพื่อครอบคลุมมาตรการช่วยเหลือและเป็นแนวทางในการฟื้นฟูเยียวยา ทีมงานบริษัท จีโนซิส จำกัด จึงรวบรวมมาตรการของธนาคารเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสิน ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ที่ประสบภัยพิบัติที่ขึ้นทะเบียนขอรับความช่วยเหลือภายในวันที่ 30 พ.ย. 2554 ซึ่งแยกตามประเภทของสินเชื่อ และเสนอมาตรการรองรับ 3 แบบ ได้แก่

  • สินเชื่อเคหะ ลูกค้าเดิมสามารถเสนอขอพักชำระหนี้เงินต้น หรือเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน และขอขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปได้ไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งถ้าอยากจะกู้เพิ่มกรณีฉุกเฉิน ให้กู้เพิ่มได้ไม่เกิน 10% ตามสัญญาเดิมและไม่เกิน 300,000 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.45% ต่อปีใน 3 ปีแรก ปีถัดไปอัตราดอกเบี้ยคือ MLR-0.5% ต่อปี นอกจากนี้ถ้าต้องการกู้เพื่อซ่อมแซม จะได้วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท และไม่เกิน 100%  ของราคาประเมิน (สำหรับลูกค้าเดิม) อายุสัญญาไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.45% ต่อปีใน 3 ปีแรก และปีถัดไปอัตราดอกเบี้ย MLR-0.5% ต่อปี
  • สินเชื่อบุคคล /สินเชื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ ลูกค้าสามารถพักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 6 เดือน และขยายเวลาการชำระออกไปได้ไม่เกิน 1 ปี แต่ถ้าหากได้รับผลกระทบรุนแรงมาก ธนาคารจะงดคิดดอกเบี้ย และพักการชำระเงินต้นไม่เกิน 6 เดือน และขยายเวลาการชำะออกไปได้ไม่เกิน 2 ปี  นอกจากนี้ หากต้องการกู้เพิ่มในกรณีฉุกเฉิน จะกู้ได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาท ระยะเวลาชำระไม่เกิน 5 ปี ที่อัตราดอกเบี้ย  MLR ไม่ต้องมีบุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  • สำหรับลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน/ สินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) /สินเชื่อธุรกิจห้องแถว / สินเชื่อองค์กรชุมชน ลูกค้าสามารถพักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 6 เดือน และขยายเวลาการชำระออกไปได้ไม่เกิน 1 ปี และสามารถขอกู้เพิ่มได้ เช่น สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR+1% ต่อปี อายุสัญญาไม่เกิน 5 ปี, สินเชื่อธุรกิจห้องแถว กู้ได้อีกรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MLR-1.50% ต่อปี ชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี
  • สินเชื่อธุรกิจ SME ลูกค้าสามารถขอพักชำระหนี้เงินต้น ผ่อนเฉพาะดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน ขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไปอีกไม่เกิน 1 ปี หากกรณีรุนแรงให้งดคิดดอกเบี้ย และพักการชำระเงินต้นไม่เกิน 6 เดือน และปรับระยะเวลาผ่อนชำระออกไปจากเดิมอีกไม่เกิน 2 ปี นอกจากนี้ถ้าต้องการขอสินเชื่อเพิ่มเติมพิเศษ ธนาคารให้กู้เพิ่มได้ไม่เกินรายละ 500,000 บาท ระยะเวลาชำระไม่เกิน  5 ปี ในอัตราดอกเบี้ย MLR-1.50%

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์นำเสนอโครงการเงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ ปลูกสร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัยปี 2554 โดยมีแนวทางการช่วยเหลือ เช่น

  • ธนาคารจะผ่อนปรนการชำระหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน กรณีหลักประกัน และ/หรือแหล่งรายได้ได้รับผลกระทบ
  • ธนาคารจะลดดอกเบี้ยให้เหลือ 0.01% ต่อปี กรณีได้รับอุบัติเหตุจากน้ำท่วม จนทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือเสียชีวิต
  • ธนาคารจะปลดภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือ ในกรณีที่อาคารที่อยู่อาศัยพังเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้
  • กรณีที่ลูกค้าเดิมขอสินเชื่อใหม่เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนหรือซ่อมแซม สามารถขอวงเงินใหม่ได้รายละไม่เกิน  1 ล้านบาทคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2% ต่อปี ในระยะเวลา 5 ปีแรก หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศของธนาคาร
  • สำหรับลูกค้าใหม่ สามารถขอกู้ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ต่อปีเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี (ไม่เกิน 100% ราคาประเมินค่าซ่อมแซม) วงเงินต่อรายไม่เกิน 1 แสนบาท โดยต้องมีบุคคลค้ำประกัน

ธนาคารยูโอบี

ธนาคารยูโอบี ออกมาตราการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้านที่ประสบภัย โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมและสภาวะของลูกค้าแต่ละราย มีมาตราการดังนี้

  • ลูกค้าสินเชื่อบ้านสามารถขอเลื่อนผ่อนชำระได้ตั้งแต่ 1-3 เดือน
  • ยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัด ในกรณีชำระล่าช้า
  • ลดค่างวดผ่อนชำระตั้งแต่ 1-12 เดือน
  • ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้ตั้งแต่ 1-6 เดือน (หมายความว่าสามารถหยุดชำระเงินต้นได้ในระยะเวลาเดียวกัน)

สำหรับลูกค้าที่ต้องการกู้เพิ่ม ธนาคารเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0%  6 เดือนแรก และลูกค้าใหม่ที่กู้สินเชื่อเอนกประสงค์  (CASH TO HOME) ธนาคารเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% 3 เดือนแรก เพื่อนำไปใช้ซ่อมแซม ปรับปรุงทรัพย์สินที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้  อัตราดอกเบี้ยหลังจากนั้นจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ MLR-1.00% ตลอดสัญญาเงินกู้

ทั้งนี้ในหน้าเวปไซต์ของธนาคารยูโอบี ไม่ได้แสดงมาตรการเกี่ยวกับสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออื่นๆ ถ้าหากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาอัพเดทให้ทราบกันอีกครั้ง

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยน้ำท่วม ทั้งสินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกัน และสินเชื่อบุคคลมีหลักประกัน โดยแนวทางช่วยเหลือจะประกอบด้วย

  • การพักชำระหนี้ให้สูงสุด 90 วัน
  • การขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ให้สูงสุด 12 เดือน
  • การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของลูกค้า เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยลูกค้าสินเชื่อบุคคลมีหลักประกันจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.5% และลูกค้าสินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกันจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 7%

(อ้างอิงข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย วันที่ 27 ตุลาคม 2554)

ธนาคารธนชาต

ธนาคารธนชาต ได้จัดมาตรการรองรับให้ความช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร โดยแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถยนต์์ ลูกค้าสามารถพักชำระหนี้ได้สูงสุด 90 วัน (นับวันที่ตามปฏิทิน) และสามารถขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ เพิ่มสูงสุดได้อีก 12 งวด แต่ต้องไม่เกินงวดสูงสุดตามธนาคารกำหนด ดังนี้ สินเชื่อรถใหม่ทั่วไปสูงสุด 96 งวด สินเชื่อรถใช้แล้วสูงสุดไม่เกิน 84 งวด และสินเชื่อรถแลกเงินสูงสุดไม่เกิน 72 งวด ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศธนาคารเรื่องหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อรถยนต์ (ปธธ.159/2554)
  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน ทางธนาคารมีโครงการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้านผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้1) พักชำระหนี้สินเชื่อบ้าน เป็นเวลา 3 เดือน หรือ ลดค่างวดเป็นเวลา 12 เดือน2) กรณีลูกค้าที่ผ่อนชำระมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี สามารถขอวงเงินสินเชื่อเคหะทวีสุข เพื่อซ่อมแซมบ้านได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษคงที่ปีแรก 4.50% หลังจากนั้น MLR-0.50% วงเงินกู้สูงสุด 1 ล้านบาท โดยเมื่อรวมกับภาระหนี้สินเชื่อบ้านแล้วต้องไม่เกิน 100% ของราคาประเมินเดิม ระยะเวลาการกู้สูงสุด 10 ปี
  • ผลิตภัณฑ์บัตร ATM และ บัตร Debit 1. กรณีถอนเงินและโอนเงินข้ามเขต ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการถอนเงินและการโอนเงินข้ามเขตที่เครื่องเอทีเอ็มของธนาคารธนชาตทุกรายการ2. กรณีทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มของธนาคารอื่น ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการถอนเงินสดต่างธนาคาร และการโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารธนชาตที่ผูกภายในบัตรเดียวกัน ผ่านเครื่องเอทีเอ็มต่างธนาคาร แต่ยังคงมีค่าธรรมเนียมทำรายการต่างธนาคารกรณีทำรายการตั้งแต่ครั้งที่ 5 ภายในเดือนเดียวกัน3. กรณีบัตร ATM หรือบัตร Debit เสีย/สูญหาย จากเหตุการณ์น้ำท่วม ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมทำบัตรทดแทน และค่าธรรมเนียมรายปีแก่กลุ่มลูกค้าประสบภัยน้ำท่วม
  • ผลิตภัณฑ์เงินฝาก1. ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการฝากเช็คเข้าบัญชี / ขึ้นเงินสดเช็คต่างสาขาแบบไม่รอเรียกเก็บ2. ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมเช็คคืน กรณีลูกค้าที่สั่งจ่ายเช็คแล้ว แต่ไม่สามารถนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของตัวเองได้
  • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตธนชาตไดร์ฟธนาคารมีนโยบายเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของลูกค้า โดยลูกค้าสามารถยื่นพักหนี้ ลดยอดชำระหนี้ หรือขยายเวลาผ่อนชำระค่างวด จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ
  • ผลิตภัณฑ์บัตรสินเชื่อธนชาต FLASHธนาคารมีนโยบายเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของลูกค้า โดยลูกค้าสามารถยื่นพักหนี้ ลดยอดชำระหนี้ หรือขยายเวลาผ่อนชำระค่างวด จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

(ข้อมูลอ้างอิงจากข่าวสารประชาสัมพันธ์ จากลิงค์นี้)

ธนาคารเกียรตินาคิน

ธนาคารเกียรตินาคิน ได้พยายามติดต่อลูกค้าธนาคารที่ประสบภัยและได้ปรับมาตรการให้ความช่วยเหลือดังนี้

  • ลูกค้าเช่าชื้อรถยนต์ และวงเงินพิเศษส่วนบุคคล สามารถเสนอขอพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งจะยกเว้นเบี้ยปรับให้
  • ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ และลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารจะมีการพิจารณาเป็นรายๆ ตามความเหมาะสม และลูกค้าสามารถขอกู้วงเงินพิเศษเพื่อใช้ประกอบการและเป็นเงินทุนหมุนเวียน

(ข้อมูลอ้างอิงจากข่าวสารของธนาคาร จากลิงค์นี้)

ธนาคาร แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย (LH Bank)

มาตราการให้ความช่วยเหลือสำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ของธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย มีดังนี้

  • ให้วงเงินกู้เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่อง ประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft หรือ O/D) เท่ากับยอดหนี้ที่ลดลง คิดอัตราดอกเบี้ย MOR-2.0%  ต่อปี
  • ปรับลดค่างวด โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย ในระยะเวลา 6 เดือน
  • เลื่อนชำระค่างวดออกไปได้อีก 2 งวด ซึ่งจะไม่ปรากฎการบันทึกการค้างชำระในเครดิตบูโร เป็นต้น

(ข้อมูลอ้างอิงจากข่าวสารธนาคาร ในลิงค์นี้)

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank)

ธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยเบื้องต้น  ดังนี้

  • การพักชำระหนี้ ตั้งแต่ 3-12 เดือน เป็นกรณีพิเศษ
  • นอกจากนี้ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อฉุกเฉินฟื้นฟูกิจการ วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ต่อราย   ระยะเวลากู้  ไม่เกิน 5 ปี  ปลอดชำระเงินต้น (Grace Period)  ปีแรก โดยลูกค้าเดิม คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ลูกค้าใหม่ คิดอัตราดอกเบี้ย MLR +0.5 % ต่อปี

(ข้อมูลอ้างอิงจากข่าวของธนาคารในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ตามลิงค์นี้)

โดยมาตรการช่วยเหลือของธนาคารพาณิชย์ สรุปว่าจะช่วยลดภาระการชำระหนี้ในช่วงระยะเวลาที่กำลังเกิดปัญหา และเพิ่มวงเงินใหม่ได้ให้ลูกค้าธนาคารสามารถมีเงินทุนในการปรับปรุงซ่อมแซม รวมทั้งมีเงินทุนหมุนเวียนใหม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปกติ

ทั้งนี้ บริษัท จีโนซิส จำกัดขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทั้งที่เป็นธุรกิจและรายบุคคลสามารถกลับมาดำเนินชีวิตและดำเนินธุรกิจได้อย่างปกติเร็ววัน

จีโนซิส อัพเดท เทรนด์ธุรกิจ แฟรนไชส์ 2024

แฟรนไชส์ 2024 เทรนด์จะเป็นอย่างไร

อัพเดทเทรนด์ธุรกิจ แฟรนไชส์ 2024 ผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า การแข่งขันสูง และ พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความคุ้มค่ากับแฟรนไชส์น่าลงทุน มีแฟรนไชส์ใดน่าสนใจ หรือ แฟรนไชส์ใดน่าเป็นห่วง มาร่วมคิดกันครับ

อ่านต่อ »
ไปออกบูธใน งานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศ ทำไม

งานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศ ไปออกทำไม

การออกงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศ เป็นการประกาศให้โลกรู้จักธุรกิจของเรา ได้ประสบการณ์กับสินค้าและบริการ สร้างภาพจำของบริษัทในระดับนานาชาติ และโอกาสในการสร้างพันธมิตรในแต่ละประเทศ รวมทั้งได้ศึกษาข้อมูลความต้องการของตลาด และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์กับแผนงานต่อไป

อ่านต่อ »

บริหารการเงินร้านอาหาร หลักสูตรที่ออกแบบโดยเฉพาะ

การบริหารการเงินร้านอาหาร หลักสูตร In-house นี้ออกแบบโดยศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา หาทางแก้ไขและแนวการป้องกัน ตัวอย่างจริงของร้านอาหารแต่ละกิจการ ผู้เข้าอบรมคือทีมบริหารและทีมงานภายในธุรกิจนั้น จะสามารถวางแผนและปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันได้ตามเป้าหมาย

อ่านต่อ »

แฟรนไชส์ 2566 ครึ่งปีแรก

แฟรนไชส์ 2566 ในมุมมองของที่ปรึกษาแฟรนไชส์ และผู้ประกอบการแฟรนไชส์เห็นแนวโน้มเป็นอย่างไร บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) หรือผู้ที่สนใจจะขยายสาขาในปีนี้ นำไปวิเคราะห์โอกาส และประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ แล้วนำไปปรับปรุงแผนธุรกิจให้เหมาะสม

อ่านต่อ »

เลือกซื้อแฟรนไชส์ อย่างมืออาชีพ

เลือกซื้อแฟรนไชส์ ให้ตรงกับความต้องการ ของตนเอง และตลาด และแฟรนไชส์ซอร์ที่เข้ากับเราได้ดี การลงทุนแฟรนไชส์จะประสบผลสำเร็จตามคาดหวัง บทความนี้แนะนำการตั้งถามคำถาม และข้อพิจารณาก่อน เลือกซื้อแฟรนไชส์

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis