แฟรนไชส์ 2024 เทรนด์จะเป็นอย่างไร

จีโนซิส อัพเดท เทรนด์ธุรกิจ แฟรนไชส์ 2024

แฟรนไชส์ 2024  หรือปี 2567 มีแฟรนไชส์อะไรน่าสนใจ ตามโอกาสธุรกิจ และมีแฟรนไชส์อะไรน่าเป็นห่วง อันเนื่องมาจากผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า การแข่งขันสูง พฤติกรรมผู้บริโภคที่เบื่อง่าย แฟรนไชส์ซีที่ต้องการความคุ้มค่าและการคืนทุนเร็ว ทีมงานจีโนซิสได้สรุปสถานการณ์แฟรนไชส์ทั่วโลก แฟรนไชส์ไทย และแนวโน้มธุรกิจ แฟรนไชส์ 2024 ได้แก่ แฟรนไชส์น่าสนใจ แฟรนไชส์ยังไปต่อ และแฟรนไชส์น่าเป็นห่วง

สถานการณ์แฟรนไชส์ทั่วโลก

นับตั้งแต่ปี 2023 หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาดโควิด เศรษฐกิจทั่วโลกเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อในระดับสูง ค่าครองชีพสูงขึ้น ต้นทุนในการดำเนินงานสูงขึ้นตามลำดับ กิจการใหญ่ ๆ มีการประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ จำนวนมากที่สนใจลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายกว่าเปิดธุรกิจของตนเอง

ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อสร้างผลกระทบให้ธนาคารแห่งชาติทั่วโลกต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น แต่กระทบน้อยกับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ เพราะพนักงานที่ได้รับเงินชดเชยเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุงานสนใจมาลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ 

เทรนด์รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ในตลาดอเมริกาคือ Multi-Unit Franchise หรือการซื้อแฟรนไชส์หลาย ๆ สาขา แทนที่จะซื้อบริหารแค่สาขาเดียว ทำให้จำนวนร้านสาขาแฟรนไชส์ในปี 2023 ในสหรัฐอเมริกาเปิดใหม่เพิ่มมากกว่า 15,000 สาขา

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อกระทบกับต้นทุนวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น กับต้นทุนทางการเงิน และยิ่งเกิดมีปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในหลายประเทศ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม กระทบระบบการขนส่งโลจิสติก ดังนั้นการเปิดธุรกิจกระจุกตัวอยู่ในประเทศเดียวหรือทวีปเดียวคือความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ แฟรนไชส์แบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์จึงเน้นนโยบายขยายสาขาในต่างประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะได้ผลกระทบน้อยจากปัญหาสงคราม ซึ่งเราจะเห็นแฟรนไชส์ต่างประเทศใหม่ ๆ เข้ามาในไทยมากขึ้นในปีที่ผ่านมา เช่นแฟรนไชส์จากสหรัฐฯ แฟรนไชส์จากจีน ฯลฯ

แฟรนไชส์ทั่วโลกในปี 2021 มีมูลค่าตลาดประมาณ 100,797.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.4 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตมีมูลค่าตลาดประมาณ 175,955 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2027 จะมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 9.73% (นับตั้งแต่ 2021-2027) อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.businessresearchinsights.com/market-reports/franchise-market-108346

สถานการณ์แฟรนไชส์ในประเทศไทย

อ้างอิงจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดโดยเฉลี่ย 300,000 ล้านบาท ซึ่งไม่นับรวมมูลค่าตลาดของร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ คาดการณ์ว่าเติบโตร้อยละ 9 ต่อปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้ารวบรวมแฟรนไชส์ https://franchise.dbd.go.th/th ที่เข้าร่วมโครงการของกรมฯ ได้จำนวนแฟรนไชส์ 531 แบรนด์ และมีจำนวนสาขาแฟรนไชส์รวม 59,077 สาขา ซึ่งในตลาดแฟรนไชส์ประมาณว่ามีแบรนด์มากกว่านั้นถึง 660 แบรนด์ และมีจำนวนสาขาแฟรนไชส์รวมกว่า 95,000 สาขา

ในจำนวนแบรนด์แฟรนไชส์ 531 กิจการ (อัพเดทเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567) ที่อยู่ในทะเบียนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และได้ผ่านโครงการต่าง ๆ ของกรมฯ เช่น B2B การสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์, Franchise Standard สร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ และรางวัลแฟรนไชส์ Thailand Franchise Awards 

แบ่งประเภทธุรกิจของแฟรนไชส์ดังนี้ (1) ธุรกิจอาหาร จำนวน 248  ราย, (2) ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 114 ราย, (3) ธุรกิจบริการ จำนวน 67 ราย, (4) ธุรกิจการศึกษา จำนวน 50 ราย, (5) ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 27 ราย และ (6) ธุรกิจความงามและสปา จำนวน 25 ราย 

ถ้าจับกลุ่มแฟรนไชส์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มจะมีสัดส่วนร้อยละ  68.2 ขณะที่แฟรนไชส์ที่ไม่ใช่อาหารมีสัดส่วนร้อยละ 31.8 

ข้อมูลสถิติรายชื่อแฟรนไชส์ ของ กรมพัฒ​นาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

หากแยกตามช่วงงบลงทุนของแฟรนไชส์ สามารถแบ่ง 8 กลุ่ม ดังแสดงในภาพต่อไปนี้ ซึ่งแฟรนไชส์ที่มีงบลงทุนระหว่าง  10,000 ถึง 50,000 บาท มีสัดส่วนร้อยละ 23.2 เป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่มากที่สุด หรือถ้ามองแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ของไทยจะมีเงินลงทุนไม่เกิน 100,000 บาท มีสัดส่วนร้อยละ 51.98 

ขนาดการลงทุน ของแฟรนไชส์ไทย ตามข้อมูลของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ส่วนใหญ่แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะขยายด้วยรูปแบบ Product Franchise หรือระบบขายสินค้า หรือกระจายสินค้าให้กับแฟรนไชส์ซี เงินลงทุนไม่สูง ขยายสาขาได้ไว แต่รายได้ต่อเดือนอาจจะน้อยกว่าแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ และจะมีรายได้ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ค่อนข้างน้อยหรือไม่เรียกเก็บ และไม่ค่อยเก็บค่ารอยัลตี้ ทำให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กอยู่รอดด้วยการขายสินค้าเป็นหลัก เป็นข้อจำกัดในการเติบโต ถ้าไม่เพิ่มจำนวนสาขาแฟรนไชส์

ขณะที่แฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ขยายด้วยระบบ Business Format ใช้ระบบในการควบคุม สนับสนุนและส่งเสริมให้แฟรนไชส์ซีมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อจะเก็บค่ารอยัลตี้ หรือค่าสิทธิแฟรนไชส์คำนวณจากรายได้ของแฟรนไชส์ซี ยิ่งทำให้แฟรนไชส์ซีมีรายได้เพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้แฟรนไชส์ซอร์มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ขนาดธุรกิจของแฟรนไชส์ใหญ่จึงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565 -2566) ความนิยมของแฟรนไชส์มีเพิ่มขึ้น กลุ่มคนวัยทำงานต้องการมีรายได้เสริม กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ต้องการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดแฟรนไชส์แบรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และคาดหวังจะขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์ อย่างไรก็ดีความรู้ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์มีอย่างจำกัด ทำให้เกิดธุรกิจที่ไม่พร้อมแต่ขยายแฟรนไชส์ไปแล้วเกิดความล้มเหลว กระทบกับความน่าเชื่อถือในระบบแฟรนไชส์อยู่บ้าง

นอกจากนี้สินเชื่อแฟรนไชส์ของสถาบันการเงินในปัจจุบันมีให้เลือกจำกัด และกระจุกตัวกับการให้สินเชื่อแบรนด์แฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดการชะลอการเติบโตในการลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์

เทรนด์ธุรกิจ แฟรนไชส์ 2024

ในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายดาย, ธุรกิจ แฟรนไชส์ 2024 ได้รับประโยชน์จากเครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์และสื่อดิจิทัลที่ช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภคได้รวดเร็วและกว้างขวางกว่าเดิม. อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จระยะยาวของธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่การเปิดตัวตามกระแสนิยมชั่วคราว แต่ต้องมีการบริหารและพัฒนาที่ยั่งยืน.

การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยรัฐบาลไทยได้ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น, ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจไทยและแบรนด์ไทยได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการขยายแฟรนไชส์ไปยังตลาดนานาชาติ. ธุรกิจไทยมีความเด่นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์, การออกแบบร้านค้าที่น่าดึงดูด, และความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการได้อย่างง่ายดาย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ถือเป็น “ซอฟท์พาวเวอร์” สำคัญของไทยในการขยายไปยังตลาดต่างประเทศ.

ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาสนใจความแปลกใหม่และความโดดเด่น, แฟรนไชส์ 2024 จึงต้องมุ่งเน้นไปที่การตลาดและความคิดสร้างสรรค์เพื่อแทนที่แฟรนไชส์รุ่นเก่าที่ไม่สามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล. ธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวอาจต้องลดจำนวนสาขาหรือปิดตัวลง, ในขณะที่แฟรนไชส์ใหม่ ๆ และธุรกิจที่นำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ กลับเติบโตและขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง.

จีโนซิส วิเคราะห์แนวโน้ม แฟรนไชส์ 2024  ตามโอกาส ความท้าทาย และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 

1. แฟรนไชส์น่าสนใจ คือแฟรนไชส์ที่มีจำนวนน้อยแต่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพและความงาม ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และธุรกิจสินค้ามือสอง

วิเคราะห์จากประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว การพัฒนาด้านการเเพทย์อย่างต่อเนื่องช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนเราให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในโลกพัฒนาเเล้ว ที่อาจจะช่วยผลักดันให้อายุขัยโดยเฉลี่ยนานกว่า 80 ปีได้ กอปรกับคนไทยส่วนใหญ่สนใจดูแลตนเองมากขึ้น ทั้งเรื่องสุขภาพและความงาม และเนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการมีลูก จึงมีความนิยมมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ซึ่งสถานที่หลายแห่งเปิดกว้างให้ลูกค้านำสัตว์เลี้ยงมาเดินในสถานที่ได้แล้ว นอกจากนี้ความกังวลในเรื่องของรายได้ไม่แน่นอน กอปรกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้ามือสองคุณภาพดีเป็นทางออกในภาวะเศรษฐกิจนี้

2. แฟรนไชส์ยังไปต่อ คือแฟรนไชส์ที่มีความต้องการอยู่เสมอ แต่มีการปรับรูปแบบธุรกิจให้คล่องตัว เพิ่มสินค้าบริการใหม่ ๆ และสามารถเปิดได้หลายพื้นที่ ได้แก่ 

>> ธุรกิจประเภทอาหาร เบเกอรี่และเครื่องดื่มยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่อง แต่ขนาดของร้านจะเล็กลงและสามารถเปิดได้หลายทำเล เงินลงทุนเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณา 

>> ธุรกิจร้านค้าปลีกเฉพาะทางหรือเฉพาะกลุ่มลูกค้า เช่นร้านค้าปลีกดอกไม้ ร้านค้าปลีกอุปกรณ์สำนักงาน ฯลฯ 

>> นอกจากนี้ธุรกิจการศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี หรือเสริมทักษะความรู้ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เพราะผู้ปกครองต้องกลับไปทำงานประจำแล้วไม่มีเวลาดูแลใกล้ชิด จึงส่งน้อง ๆ ไปเรียนเสริมทักษะต่าง ๆ  

3. แฟรนไชส์น่าเป็นห่วง คือแฟรนไชส์ที่มีความต้องการลดลง หรือสินค้าบริการเริ่มล้าหลัง ได้แก่ 

>> ธุรกิจร้านอาหารขนาดใหญ่ เช่นสวนอาหาร บุฟเฟ่ต์หมูกระทะมากกว่า 100 โต๊ะ เป็นต้น จะขยายแฟรนไชส์ค่อนข้างยาก เพราะข้อจำกัดในเรื่องทำเลพื้นที่ใหญ่หายาก ขาดแคลนแรงงาน และใช้เงินทุนสูง, 

>> ธุรกิจร้านโชห่วยแบบดั้งเดิม ร้านค้าปลีกที่ไม่มีระบบ สินค้าไม่มีความแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อแบรนด์ใหญ่ ถึงแม้จะมีการลงทุนระบบเทคโนโลยีเข้ามาเสริมเช่นระบบการขาย POS แต่ร้านโชห่วยจะต้องซื้อสินค้ามากักตุน และเมื่อไม่มีอำนาจในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ จึงไม่สามารถขอเครดิตเทอมยืดเวลาจ่ายชำระหนี้ ในที่สุดทำให้ขาดสภาพคล่อง 

>> ธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่ง สังเกตว่าจะเหลือรายใหญ่ไม่กี่รายและมีผลประกอบการขาดทุน เนื่องจากธุรกิจการค้าออนไลน์รายใหญ่มีระบบขนส่งเป็นของตนเองหรือสร้างพันธมิตรกับกลุ่มขนส่งรายใหญ่ ธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งรายย่อยจึงไม่สามารถแข่งขันได้ ยิ่งถ้าไม่มีทีมจัดส่งเอง ไม่มีระบบการกระจายสินค้าเอง ต้องพึ่งพิงกิจการอื่น ๆ แฟรนไชส์ซีในธุรกิจขนส่งจึงไม่สามารถแข่งขันได้

>> ธุรกิจการศึกษาแนวกวดวิชา ได้รับผลกระทบจากแนวทางการสอบใหม่ของระบบการศึกษาไทย ถ้าปรับหลักสูตรหรือเปลี่ยนวิธีการสอนให้ทันสมัย จะไม่สามารถครองใจนักเรียนหรือผู้ปกครอง เพราะจำนวนนักเรียนเริ่มน้อยลง มีไปเรียนนอกระบบการศึกษาไทย เป็นต้น

แฟรนไชส์น่าลงทุน แฟรนไชส์น่าสนใจ แฟรนไชส์น่าเป็นห่วง ในปี 2024

การเติบโตและการพัฒนาของธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ, การตลาดที่สร้างสรรค์, และการปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตในระยะยาว

จีโนซิส ยินดีให้คำปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ การบริหารการเงินธุรกิจ และสร้างระบบแฟรนไชส์ เตรียมตัวรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ติดต่อสอบถามงานบริการได้ที่เบอร์ 0969796451 

อัพเดทเทรนด์ธุรกิจ แฟรนไชส์ 2024 จากในงานสัมมนาที่ผ่านมา ของ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด

ยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ GSB Franchise Standard 2024 กับธนาคารออมสิน และ จีโนซิส

GSB Franchise Standard 2024 เข้มข้นกว่าเดิม

หลักสูตรยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ที่สร้างผู้ประกอบการแฟรนไชส์มาตรฐานแล้ว 111 กิจการใน 2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้ธนาคารออมสินจัดเต็มอีกครั้งกับเนื้อหาเข้มข้นกว่าเดิม ใกล้ชิดกว่าเดิม กับวิทยากรจากสายงานแฟรนไชส์ระดับประเทศ รีบสมัครด่วน

อ่านต่อ »
Jump Start Franchise by GSB เรียนฟรี 27-28 เมษายน 2567

Jump Start Franchise 2024 โดยธนาคารออมสิน

Jump Start Franchise 2024 by GSB หลักสูตรเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้วยระบบแฟรนไชส์ แชร์ประสบการณ์โดยผู้ประกอบการตัวจริง และผู้เชี่ยวชาญตรงสาขา เช่นมืออาชีพสร้างระบบแฟรนไชส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และผู้เชี่ยวชาญการตลาด รวมทั้งสิทธิพิเศษกับบริการด้านการเงินจากธนาคารออมสิน

อ่านต่อ »
Khiang Osaka เขียง ยกระดับสตรีทฟู้ดไทย สู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka “เขียง” ยกระดับสตรีทฟู้ดไทยสู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka ร้านเขียง อาหารไทยสตรีทฟู้ด เปิดสาขาแฟรนไชส์แรกใจกลางโอซาก้า ญี่ปุ่น เสิร์ฟความอร่อยต้นตำรับไทยในราคาเข้าถึงได้ จีโนซิส มืออาชีพจับคู่ธุรกิจ ร่วมแสดงความยินดีกับแฟรนไชส์ซี และทีมบริหาร Zen Group

อ่านต่อ »
ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ สิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ให้คำแนะนำการเลือกแฟรนไชส์น่าลงทุน 17 แบรนด์ดังให้เหมาะกับคุณ ปรึกษาแบบส่วนตัว จองเวลานัดในเวลา 9.00-17.00 น. วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม InterContinental ถนนเพลินจิต

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis