นำเสนอแนวคิดธุรกิจอย่างไรให้ได้เงินทุนสนับสนุน

โครงสร้างแบบจำลองทางการเงิน

ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up) หรือกำลังจะขยายกิจการ แม้จะมีรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจ (Business Model) แต่มักประสบปัญหาไม่สามารถหาเงินทุนจากนักลงทุนหรือสถาบันการเงินมาสนับสนุนโครงการได้ สาเหตุส่วนใหญ่ของความล้มเหลวคือ ผู้ประกอบการไม่สามารถอธิบาย หรือนำเสนอแนวคิดธุรกิจได้อย่างชัดเจน และไม่สามารถตอบคำถามใหญ่ๆ 3 ข้อที่นักลงทุน หรือเจ้าหนี้สถาบันการเงินชอบถาม ได้แก่

  1. แนวคิดธุรกิจดูดี แต่ว่าคุณจะทำเงินจากการลงทุนในธุรกิจนี้อย่างไร
  2. ธุรกิจของคุณต้องการเงินทุนเท่าไร และเมื่อไร
  3. คุณคิดว่าธุรกิจของคุณมีค่าเท่าไร

นอกจากนี้นักลงทุน หรือเจ้าหนี้สถาบันการเงิน จะมีมุมมองที่แตกต่างออกไปจากผู้ประกอบการ เช่น นักลงทุนจะมองว่าเมื่อพวกเขาลงทุนไปแล้วจะได้ผลตอบแทนคืนเท่าไรและเมื่อไร  ขณะที่เจ้าหนี้สถาบันก็อยากรู้ว่าถ้าหากสถานการณ์ตามแผนเปลี่ยนไปแล้วความสามารถในการชำระหนี้คืนจะทำได้หรือไม่

โดยทั้งนักลงทุนและเจ้าหนี้สถาบันการเงินพอใจที่จะลงทุนกับกิจการที่แสดงให้พวกเขาเห็นภาพชัดเจนเป็นตัวเลข มีข้อมูลอ้างอิงสนับสนุนที่น่าเชื่อถือและเข้าใจง่ายๆ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาของการนำเสนอแผนธุรกิจ นักลงทุนหรือเจ้าหนี้สถาบันการเงิน จะตั้งข้อสมมติฐานใหม่ๆ หรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่างๆ (Scenario) ที่ผู้ประกอบการอาจไม่ได้เตรียมมา

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีก หากราคาต้นทุนสินค้าเปลี่ยนจากแผนปัจจุบัน  เจ้าหนี้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้เร็วขึ้น ขณะที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงราคาขายแล้ว กระแสเงินสดจากการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร

ธุรกิจการบริการ เมื่อกำลังซื้อลดลง มีคู่แข่งมากขึ้น กลยุทธ์ในการป้องกันความเสี่ยงคืออะไร และจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเท่าไร และถ้ากิจการขาดสภาพคล่อง จะมีทางออกคืออะไร เป็นต้น

ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีความพร้อมที่จะตอบได้อย่างทันท่วงที และมั่นใจในตัวเลขที่นำเสนอด้วย

การสร้างแบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) ที่สมบูรณ์ เป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยตอบคำถามหลักๆ ได้ และเป็นเครื่องมือช่วยตอบในกรณีที่มีคำถามเฉพาะหน้า เพราะสามารถแสดงผลลัพธ์ตามการเปลี่ยนแปลงสมมติฐาน และปรับตามสถานการณ์ใหม่ๆ ได้ ผลลัพธ์ทางการเงินจึงแสดงผลออกมาได้อย่างมั่นใจ ผู้ประกอบการได้รับความน่าเชื่อถือในการเตรียมความพร้อมในทุกสถานการณ์ ทำให้มีโอกาสที่จะได้รับเงินทุน เพราะนักลงทุนหรือเจ้าหนี้สถาบันการเงินสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้องกัน:

ยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ GSB Franchise Standard 2024 กับธนาคารออมสิน และ จีโนซิส

GSB Franchise Standard 2024 เข้มข้นกว่าเดิม

หลักสูตรยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ที่สร้างผู้ประกอบการแฟรนไชส์มาตรฐานแล้ว 111 กิจการใน 2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้ธนาคารออมสินจัดเต็มอีกครั้งกับเนื้อหาเข้มข้นกว่าเดิม ใกล้ชิดกว่าเดิม กับวิทยากรจากสายงานแฟรนไชส์ระดับประเทศ รีบสมัครด่วน

อ่านต่อ »
Jump Start Franchise by GSB เรียนฟรี 27-28 เมษายน 2567

Jump Start Franchise 2024 โดยธนาคารออมสิน

Jump Start Franchise 2024 by GSB หลักสูตรเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้วยระบบแฟรนไชส์ แชร์ประสบการณ์โดยผู้ประกอบการตัวจริง และผู้เชี่ยวชาญตรงสาขา เช่นมืออาชีพสร้างระบบแฟรนไชส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และผู้เชี่ยวชาญการตลาด รวมทั้งสิทธิพิเศษกับบริการด้านการเงินจากธนาคารออมสิน

อ่านต่อ »
Khiang Osaka เขียง ยกระดับสตรีทฟู้ดไทย สู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka “เขียง” ยกระดับสตรีทฟู้ดไทยสู่ใจกลางโอซาก้า

Khiang Osaka ร้านเขียง อาหารไทยสตรีทฟู้ด เปิดสาขาแฟรนไชส์แรกใจกลางโอซาก้า ญี่ปุ่น เสิร์ฟความอร่อยต้นตำรับไทยในราคาเข้าถึงได้ จีโนซิส มืออาชีพจับคู่ธุรกิจ ร่วมแสดงความยินดีกับแฟรนไชส์ซี และทีมบริหาร Zen Group

อ่านต่อ »
ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ สิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ

ปลดล็อคโอกาสธุรกิจ ด้วยการเป็นผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ให้คำแนะนำการเลือกแฟรนไชส์น่าลงทุน 17 แบรนด์ดังให้เหมาะกับคุณ ปรึกษาแบบส่วนตัว จองเวลานัดในเวลา 9.00-17.00 น. วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม InterContinental ถนนเพลินจิต

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis