บริหารเงินสดของธุรกิจ ไม่ให้ติดลบ

กระแสเงินสด” เปรียบเสมือน กระแสเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ดำเนินและเติบโตได้ ซึ่งมีการไหลเวียนเข้าออกตลอดการดำเนินธุรกิจ การขาดเงินหรือมีกระแสเงินสดติดลบผิดเวลา จะมีผลให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ไม่สามารถซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบมาขาย ไม่สามารถชำระค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า หรือค่าสาธารณูปโภคให้ธุรกิจดำเนินได้ปกติ หรือจะต้องทุบกระปุกออมสินมาใช้

เพื่อป้องกันปัญหากระแสเงินสดติดลบผิดเวลา ในบทความนี้จึงขอนำเสนอ บริหารเงินสดของธุรกิจ 10 ข้อ

  1. ต้องรู้สถานะเงินสดปัจจุบันเสมอ รู้ว่าตอนนี้มีเงินสดเหลือจริงๆ เท่าไร ต้องมีการบันทึกและอัพเดทอยู่เสมอ
  2. คิดใหม่ว่า กำไรไม่ใช่เงินสด มันคือกำไรทางบัญชี ผู้ประกอบการบางท่านยังเข้าใจผิดว่าตัวเลขกำไรจะแสดงผลของเงินสดด้วย ซึ่งแท้จริงแล้ว กำไรทางบัญชีเกิดจากรายได้ลบค่าใช้จ่าย โดยที่รายได้ที่บันทึกเกิดจากการส่งมอบสินค้าแล้วบางทีก็ได้รับคืนเป็นเงินสดและลงเป็นเงินเชื่อที่ต้องติดตามทวงต่อไป แค่รายได้ก็ไม่ใช่เงินสดทั้งหมดแล้ว และค่าใช้จ่ายบางรายการที่ลงบันทึกบัญชีเช่น ค่าเสื่อมราคา เป็นการตัดลดมูลค่าของสินทรัพย์ตามอายุการใช้งาน ซึ่งกิจการได้ชำระสินทรัพย์ไปตั้งแต่ซื้อมาลงทุนแล้ว ค่าเสื่อมราคาจึงไม่ใช่การชำระเป็นเงินสดเป็นต้น ซึ่งเมื่อรายได้ลบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว กำไรที่ออกมาจึงไม่ใช่เงินสดทั้งหมด อย่านำกำไรมาวัดเป็นเงินสดนะ
  3. อย่าใช้ยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร ว่าเป็นยอดเงินสดคงเหลือทั้งหมด เพราะอาจมีค่าใช้จ่ายบางรายการที่กำลังจะตัดออกจากบัญชีไม่ได้แสดงในยอดดังกล่าว เช่นการเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่จะรอตัดออกจากบัญชีเงินฝาก เป็นต้น
  4. ต้องจัดทำงบประมาณเงินสด ที่แสดงว่าเงินคงเหลือปัจจุบันเท่าไร มีกระแสเงินสดเข้าเมื่อไร มีรายการของกระแสเงินสดออกเมื่อไร จัดทำล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน จะช่วยให้ประมาณการว่ากิจการจะมีช่วงไหนขาดเงิน หรือมีกระแสเงินสดสุทธิติดลบ
  5. การเก็บสินค้า หรือสต๊อกสินค้ามากๆ คือการนำเงินสดออกจากกระเป๋าเงินไปจมอยู่ในสินค้า ดังนั้นจะต้องบริหารระดับสินค้าให้เหมาะสมว่าจะมีรอบการหมุนขายสินค้านี้ออกไปได้เร็วแค่ไหน เพื่อไม่ให้เงินสดขาดมือ
  6. พิจารณานโยบายการให้เครดิตกับลูกหนี้การค้า เช่นชำระสินค้าภายใน 30 วัน หรือ 60 วัน ต้องคำนึงถึงระยะเวลาการเรียกเก็บให้เหมาะสมสอดคล้องกับภาระการชำระเงินของกิจการด้วย ซึ่งต้องติดตามลูกหนี้การค้าอย่างสม่ำเสมอ
  7. หาวิธีให้ลูกค้าหรือลูกหนี้การค้าชำระเงินให้เร็วขึ้น เช่นการวางเงินมัดจำ การจองหรือการสั่งซื้อล่วงหน้า การให้ส่วนลดทางการค้า และเพิ่มช่องทางการชำระที่ให้ลูกค้าสะดวกอีกหลายๆ ทางเช่นชำระผ่านทางออนไลน์ ผ่านทางธนาคาร เป็นต้น
  8. ควรตั้งเงินสดสำรอง หรือเงินสดขั้นต่ำ เพื่อป้องกันการช็อตเงิน โดยเงินสดขั้นต่ำจะประมาณการได้จากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในช่วงเวลาหนึ่ง
  9. เมื่อมีกระแสเงินสดสุทธิเป็นบวก (กระแสเงินสดเข้ามากกว่ากระแสเงินสดออก) ให้พิจารณาว่าจะลงทุน (หลังจากกันเงินสดสำรองแล้ว) ในสินทรัพย์หรือธุรกิจอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับเข้ามาใหม่
  10. การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้การค้าในบางกรณีที่จำเป็นต้องเลื่อนชำระหนี้ จะช่วยยืดระยะเวลากระแสเงินสดสุทธิติดลบได้ แต่ต้องระวังเรื่องการเสียเครดิต นอกจากนี้การเลือกซื้อสินค้าอย่าเพียงมองแค่ราคาถูกเท่านั้น ให้เลือกดูด้วยว่าเจ้าหนี้การค้ารายไหนให้เครดิตเทอมนานกว่า เพราะจะช่วยให้กิจการมีระยะเวลาในการหมุนเงินได้บ่อยขึ้น  (เช่นนำสินค้าไปขายได้กำไรมาลงทุนและขายได้อีก) ก่อนที่จะชำระหนี้

อกจากนี้ ผู้ประกอบการของธุรกิจควรฝึกให้กับพนักงานหรือลูกจ้างให้ช่วยติดตามสอดส่องความเคลื่อนไหวของเงินสดด้วย โดยให้ช่วยกันบันทึกในงบประมาณเงินสด และเก็บหลักฐานในการรับและจ่ายเงินสด เพื่อการควบคุมภายใน และเมื่อกิจการได้ทำตามกฎ 10 ข้อนี้แล้ว ภาวะของเงินสดติดลบ หรือเงินขาดมือจะหายไป เพราะผู้ประกอบการได้เตรียมการรับมือไว้แล้ว

นัดเวลาขอคำปรึกษา ซื้อสิทธิแฟรนไชส์ต่างประเทศ 12 แบรนด์

งานเจรจาซื้อสิทธิ แฟรนไชส์ต่างประเทศ 21 มิ.ย.66

นัดหมายขอคำแนะนำฟรีกับที่ปรึกษาแฟรนไชส์มืออาชีพ ซื้อสิทธิ แฟรนไชส์ต่างประเทศ ขยายในไทย ได้แก่ แฟรนไชส์อาหาร แฟรนไชส์การศึกษา และแฟรนไชส์บริการ จองเวลานัดในวันที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 9:00 – 17:00 โรงแรม โซฟิเทล สุขุมวิท

อ่านต่อ »
Jump Start franchise 2023 by GSB x Gnosis

GSB Jump Start Franchise 2023

สัมมนาออนไลน์ฟรี Jump Start Franchise 2023 โดยธนาคารออมสิน จะพาธุรกิจขยายธุรกิจอย่างก้าวกระโดดด้วยระบบแฟรนไชส์ กับที่ปรึกษาแฟรนไชส์ และแบรนด์แฟรนไชส์ระดับประเทศ เรียนวันที่ 22-23 เมษายน 2566 เวลา 9-16น. รับสมัครจนถึงวันที่ 15 เมษายน 2566

อ่านต่อ »
ระบบแฟรนไชส์

ระบบแฟรนไชส์ มาตรฐาน B2B รุ่นที่ 26

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กำหนดจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส (B2B Franchise) เชิญ คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การสร้างระบบงานที่เป็นมาตรฐาน” ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis