ก้าวแรกของการทำธุรกิจ ต้องเรียนรู้ที่จะล้ม

การฝึกกีฬาที่เป็นอันตรายอย่างเช่นกีฬาสกี กีฬายูโด กีฬายิมนาสติกต่างๆ เป็นต้น นักกีฬาควรเรียนรู้ว่าจะล้มอย่างไรเพื่อลดความเจ็บปวด หรือลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ หากมุ่งหวังเพียงจะมุ่งไปข้างหน้าแบบไม่ระวังตัวการล้มครั้งนั้นอาจทำให้เราลุกไม่ขึ้นเลย ในโลกของธุรกิจ บริษัทหรือผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมดต้องผ่านความล้มเหลวมากันอย่างมากมาย ไม่ได้มีสถิติวัดชัดเจนว่าต้องล้มซะกี่ครั้งถึงจะสำเร็จ แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นแน่ๆ หากรู้จักลุกขึ้นมาฝ่าฟันแรงต้านต่างๆ ได้

ทำธุรกิจอย่างไรให้ล้ม หรือให้รอด

การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ความล้มเหลวของคนอื่นๆ จะช่วยลดแรงฉุดการล้มของธุรกิจได้ระดับหนึ่ง อย่างน้อยได้ฉุกคิดจัดทำแผนป้องกันหรือเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไม่ให้หนักจนเกินทน เมื่อวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา (พ.ศ.2553) ในงานเสวนา “ก้าวแรก…สู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่” จัดโดย Life101 คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท จีโนซิส จำกัด ได้แบ่งปันประสบการณ์จากการให้คำปรึกษาธุรกิจหลายประเภท แนะนำผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจหรือวางแผนจะดำเนินธุรกิจ     สัมมนาในหัวข้อ “ทำธุรกิจอย่างไรให้ล้ม หรือให้รอด” ซึ่งสรุปสาเหตุหรือข้อผิดพลาดต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ ปัญหาของผู้ประกอบการ และปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้

ข้อผิดพลาดเมื่อเริ่มต้นธุรกิจ ได้แก่ไม่มีความเป็นเอกลักษณ์และ Core Competency  (ความสามารถเฉพาะทาง), ไม่ได้ทำวิจัยหรือศึกษาธุรกิจที่จะทำอย่างเพียงพอจึงคาดคะเนขนาดตลาดและเวลาผิดพลาด, ประเมินรายได้สูงเกินไปและประเมินค่าใช้จ่ายต่ำไป, ไม่รับรู้ความจริง, จ้างคนลวกๆ, ยอมแพ้เร็วเกินไป, และไม่ได้เตรียมแผนการรองรับเมื่อเกิดปัญหา

บรรยากาศในการเสวนา

วิทยากร ผู้เข้าร่วมฟังเสวนา และทีมผู้จัดงาน

ปัญหาของผู้ประกอบการ ได้แก่การลงทุนที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิม, ขาดการวางแผนเรื่องระบบงานต่างๆ เช่นการจัดการทางการเงิน ไม่มีแผนการลงทุนหรืองบประมาณ, บุคคลากรที่สำคัญหรือ Key Man ลาออกไป เป็นต้น

ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการคือ ต้องรู้จริง กล้าเปลี่ยนแปลง และมี Core Competency

คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ ได้สรุปประเภทธุรกิจที่จัดตั้งและยกเลิกในไตรมาสแรกของปี 2553 และสรุป 5  อันดับธุรกิจบริการและธุรกิจการผลิต ที่มีอัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานสูงสุด และต่ำสุดในปี 2553 ดูวิดีโอและภาพการสัมมนาบางส่วนต่อไปนี้

บริหารการเงินร้านอาหาร หลักสูตรที่ออกแบบโดยเฉพาะ

การบริหารการเงินร้านอาหาร หลักสูตร In-house นี้ออกแบบโดยศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา หาทางแก้ไขและแนวการป้องกัน ตัวอย่างจริงของร้านอาหารแต่ละกิจการ ผู้เข้าอบรมคือทีมบริหารและทีมงานภายในธุรกิจนั้น จะสามารถวางแผนและปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันได้ตามเป้าหมาย

อ่านต่อ »

แฟรนไชส์ 2566 ครึ่งปีแรก

แฟรนไชส์ 2566 ในมุมมองของที่ปรึกษาแฟรนไชส์ และผู้ประกอบการแฟรนไชส์เห็นแนวโน้มเป็นอย่างไร บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) หรือผู้ที่สนใจจะขยายสาขาในปีนี้ นำไปวิเคราะห์โอกาส และประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ แล้วนำไปปรับปรุงแผนธุรกิจให้เหมาะสม

อ่านต่อ »

เลือกซื้อแฟรนไชส์ อย่างมืออาชีพ

เลือกซื้อแฟรนไชส์ ให้ตรงกับความต้องการ ของตนเอง และตลาด และแฟรนไชส์ซอร์ที่เข้ากับเราได้ดี การลงทุนแฟรนไชส์จะประสบผลสำเร็จตามคาดหวัง บทความนี้แนะนำการตั้งถามคำถาม และข้อพิจารณาก่อน เลือกซื้อแฟรนไชส์

อ่านต่อ »

ทำเล ค้าขาย สุดปัง ท้าโควิด

ทำเล ค้าขาย ทำให้พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปตามมาตรการป้องกันโรคระบาดโควิด 19 ทำให้ ผู้ประกอบการต้องหากลยุทธ์การขายใหม่ ปรับหา ทำเล ค้าขาย ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ตอบโจทย์เรื่องความสะดวก และรวดเร็ว ได้แก่ สถานีน้ำมัน อาคารสำนักงาน และการทำ Cloud Kitchen หรือใช้ครัวกลางร่วมกัน

อ่านต่อ »

สรุปแฟรนไชส์ปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 (2021)

แฟรนไชส์ในปี 2563 ได้รับความสนใจมากสวนกระแสวิกฤติเศรษฐกิจ และแนวโน้ม แฟรนไชส์ 2564 แฟรนไชส์จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งเสริมให้มีการจ้างงาน มีการลงทุนภายในประเทศ และมีเงินหมุนเวียน แฟรนไชส์ไทยมีโอกาสขยายต่างประเทศเพิ่มขึ้น และมีแฟรนไชส์ต่างประเทศเปิดตัวในไทยอีกหลายแบรนด์ปีนี้

อ่านต่อ »
จีโนซิส ที่ปรึกษาธุรกิจ บริหารการเงิน , ที่ปรึกษาแฟรนไซส์, ประเมินมูลค่าทางธุรกิจ, ออกแบบระบบแฟรนไซส์ ครบทุกเรื่องทางธุรกิจ วางใจ gnosis