ความรู้เรื่องแฟรนไชส์ ในงาน MOC แฟรนไชส์สร้างอาชีพ 2021
ความรู้เรื่องแฟรนไชส์ จัดอยู่ในโซนความรู้ Franchise Academy ใน งาน MOC แฟรนไชส์สร้างอาชีพ 2021 งานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ครั้งใหญ่สุดในประเทศไทย ที่รวบรวมแฟรนไชส์มากกว่า 400 แบรนด์ทั่วประเทศ จัดโดย กรมพัฒนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับเอสเอ็มอีไทย จัดงานระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม 2564 ณ ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
นอกจากบูธกิจการแฟรนไชส์ ผู้จัดได้จัดพื้นที่ให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมงาน และผู้ประกอบการแฟรนไชส์ได้เสริมความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจด้วย ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เชิญวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแฟรนไชส์ ได้แก่ คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์, CFE กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ มาบรรยายในวันที่ 16 และ 17 ธันวาคมนี้ มีการถ่ายทอดสดในเฟสบุคเพจของ กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และเราได้บันทึกวิดีโอย้อนหลัง
มีหัวข้อบรรยาย ดังนี้
ความรู้สำหรับ ผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ ได้แก่
- เช็คความพร้อมก่อนขยายแฟรนไชส์ (วิดีโอย้อนหลัง) ได้แก่ องค์ประกอบของธุรกิจที่เหมาะสำหรับขยายแฟรนไชส์ และรายการตรวจความพร้อมของธุรกิจก่อนขยายแฟรนไชส์
ความรู้สำหรับ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) ที่ต้องการยกระดับการทำงาน และปรับองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
- การสร้างระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน (วิดีโอย้อนหลัง) ได้แก่ หลักเกณฑ์ในการประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ ตัวชี้วัดการดำเนินงาน ตรวจประเมินผลงาน และเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจให้มีระบบมาตรฐาน เป็นต้น
- หลักการบริหารแฟรนไชส์ (วิดีโอย้อนหลัง) ได้แก่การสร้างองค์กรแฟรนไชส์สู่ความเป็นเลิศ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี กลยุทธ์การตลาดสำหรับแฟรนไชส์ เป็นต้น
ความรู้สำหรับ ผู้สนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี)
- การเลือกลงทุนแฟรนไชส์อย่างมืออาชีพ (วิดีโอย้อนหลัง) เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ลดความเสี่ยงในการลงทุน และแนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์น่าลงทุนในปี 2022
ความรู้เรื่องแฟรนไชส์ และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบแฟรนไชส์ (Franchising) คือ หนึ่งในกลยุทธ์การขยายธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากในยุคปัจจุบัน เพราะธุรกิจสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว และมั่นคง โดยมีการลงทุนต่ำ เพราะเจ้าของแบรนด์ หรือ “แฟรนไชส์ซอร์” ไม่ต้องลงทุนเอง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ประกอบกับสามารถได้รายได้ส่วนเพิ่มด้วย
ซึ่งธุรกิจที่จะขยายด้วยระบบแฟรนไชส์นั้น จะต้องได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในเชิงของอัตราผลตอบแทน จากการลงทุน และแบรนด์เป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่รู้จักทั่วไป นอกจากนี้ ธุรกิจนั้นต้องมีความพร้อม เรื่องระบบการสนับสนุน การฝึกอบรม และ คู่มือการบริหารจัดการ ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือที่เรียกว่า “แฟรนไชส์ซี” จะชำระค่าตอบแทนแก่เจ้าของแฟรนไชส์ หรือ “แฟรนไชส์ซอร์” เพื่อแลกกับประโยชน์จากแบรนด์ สินค้าบริการเป็นที่รู้จัก และระบบการบริหารจัดการ
ตามประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่องแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าทไี่ม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ประกาศ ณ วันท่ี 30 ตลุาคม พ.ศ.2562
“แฟรนไชส์ (Franchise)” หมายความว่า การประกอบธุรกิจที่บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า “แฟรนไชส์ซอร์” สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรตกลงให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า “แฟรนไชส์ซี” ประกอบธุรกิจโดยใช้รูปแบบ ระบบ ขั้นตอนและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตน หรือที่ตนมีสิทธิ ที่จะให้ผู้อ่ืนใช้ เพื่อประกอบธุรกิจภายในระยะเวลาหรือเขตพ้ืนท่ีที่กำหนด และการประกอบธุรกิจน้ัน อยู่ภายใต้การส่งเสริมและควบคุมตามแผนการดาเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่แฟรนไชส์ซอร์
“แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor)” หมายความว่า บุคคลผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
“แฟรนไชส์ซี (Franchisee)” หมายความว่า บุคคลผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
สัญญาแฟรนไชส์ – คือสัญญาทางกฎหมายที่บอกให้แฟรนไชส์ดำเนินกิจการและกิจกรรมด้านการบริการตามการถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากแฟรนไชส์ซอร์ โดยแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมและปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญา
ค่าสิทธิแรกเข้า หรือ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise FEE) คือ
- ค่าแบรนด์ & ค่า Know-how ทั้งหลายของแฟรนไชส์
- ค่าการอบรมให้ความรู้ต่างๆตั้งแต่เริ่มต้น จนสามารถทำธุรกิจได้
- ค่าสำรวจ & คัดเลือกทำเลการค้า
- ค่าอุปกรณ์ & ความช่วยเหลือต่างๆ ที่จัดให้จนสามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้
ค่าสิทธิรอยัลตี้ หรือ ค่าสิทธิรายเดือน (Royalty Fee)
- เป็นค่าสิทธิที่เรียกเก็บจากรายได้ที่มีในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์
- เป็นการเรียกเก็บ เพื่อ การสร้างแบรนด์ การพัฒนาระบบ และการบริการต่างๆของแฟรนไชส์
วิธีการเรียกเก็บ ค่ารอยัลตี้
- เก็บเป็น เปอร์เซ็นต์ ต่อยอดขาย ซึ่งมักใช้เป็นยอดรายเดือน นิยมใช้ทั่วไป
- เก็บเป็น เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งจาก กำไรขั้นต้น เก็บเป็นยอดคงที่ขั้นต่ำ นิยมใช้ในแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ที่ไม่จำเป็นต้องให้การสนับสนุนมาก
ตัวอย่างเอกสารที่แฟรนไชส์ซอร์ ต้องเตรียมเพื่อพัฒนาแฟรนไชส์ และสนับสนุนแฟรนไชส์ซี
- Franchise Operation Manual คู่มือปฏิบัติงานของร้านแฟรนไชส์
- Franchise Training การฝึกอบรมแฟรนไชส์ซี
- Area Manager Checklist รายการตรวจสอบปฏิบัติงานของผู้จัดการเขต
- Finance/ Stock/ QC Audit รายการตรวจสอบสินค้าในร้าน
- Sales Analysis การวิเคราะห์ยอดขาย
- KPIs ดัชนีการประเมินประสิทธิภาพของร้าน ในทุกแง่มุม
หากคุณต้องการคำปรึกษาในหัวข้อต่อไปนี้
- การพัฒนาร้านต้นแบบเพื่อขยายสาขาแฟรนไชส์
- การพัฒนาระบบและองค์กรแฟรนไชส์
- การขายแฟรนไชส์ และงานจับคู่ธุรกิจ
- ต้องการคำแนะนำในการซื้อแฟรนไชส์น่าลงทุน
กรุณาติดต่อสอบถาม จีโนซิส เบอร์ 0969796451
หรือ email:Contact@Gnosisadvisory.com
หรือ Line OA