สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในกิจกรรมการวินิจฉัยสถานประกอบการ เพื่อให้ทราบว่าองค์กรในธุรกิจโรงแรมและเซอร์วิสพาร์ทเม้นท์มีจุดใดบ้างที่มีปัญหา หรือสาเหตุที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาตรฐาน และจะต้องปรับปรุงอย่างไร เพื่อลดความสูญเสียหรือลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงได้ และส่งผลให้ต้นทุนของกิจการลดลง สามารถประคองตัวให้รอดจากวิกฤตการครั้งนี้ได้our Heading Text Here
คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท จีโนซิส จำกัด ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมวินิจฉัยสถานประกอบการ ดูแลรับผิดชอบวินิจฉัยงานด้านบัญชีการเงิน และด้านอาหารและเครื่องดื่ม คุณเศรษฐพงศ์ ได้วินิจฉัยโรงแรม รีสอร์ท และเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์กว่า 20 โรง ในเขตกรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ ภูเก็ต หัวหิน ชะอำ และประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
หลังจากที่ผู้ประกอบการได้สมัครยื่นเอกสารครบถ้วนแล้ว จะได้รับการอบรมทฤษฎีและความรู้ในการบริหารจัดการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายใน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) ด้านพลังงาน (Energy) และด้านบุคคลากร (Man Power) ต่อมาได้เข้าทำ Workshop เพื่อทีมวินิจฉัยจะได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบในวันถัดมา (ภาพต่อไปนี้ คือตัวอย่างการเข้าชมสถานประกอบการและทำการวินิจฉัย)
จากการวินิจฉัยงานด้านอาหารและเครื่องดื่ม ผ่านแบบประเมินตนเอง (Self Assessment) สรุปประเด็นปัญหาที่ก่อให้ิเกิดค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาตรฐานได้ัดังนี้
- ปัญหาการซื้อวัตถุดิบราคาสูง/ การรั่วไหล
- ปัญหาขาดการควบคุมการรับวัตถุดิบ ทำให้คุณภาพต่ำกว่าราคา
- ปัญหาขาดการบริหารควบคุมวัตถุดิบคงคลัง
- ปัญหาขาดเครื่องมือมาตรฐานในการควบคุมต้นทุนในระบบ F&B เช่นไม่มีสูตรอาหาร และต้นทุนมาตรฐาน
- ปัญหาการจัดเก็บไม่ถูกวิธี
- ปัญหาขาดการเตรียมการและการวางแผนผลิต เช่นการแล่เนื้อ และการควบคุมสูญเสียจากการตัดแต่ง
- ปัญหาขาดการควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ เช่นไม่มีนโยบายและผู้ควบคุม
- ปัญหาขาดการบริหารแรงงานให้สอดคล้องกับ Work Load
- ปัญหาขาดการบริหารค่าใช้จ่าย Overhead
- ขาดระบบบริหารอาหารเหลือ
เมื่อข้อมูลด้านบัญชีและการเงินครบถ้วน และรับทราบนโยบายและวิธีการบริหารงานปัจจุบันของทีมงานที่เกี่ยวข้อง ทีมวินิจฉัยจะนำเสนอผลการวินิจฉัยเบื้องต้นโดยวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่ใช้ในการควบคุมงานเทียบกับมาตรฐานทั่วไป ได้แก่ต้นทุนอาหารเฉลี่ยของอาหารและเครื่องดื่ม ระยะเวลาการหมุนของวัตถุดิบคงเหลือ อัตราค่าจ้างพนักงานรวมต่อยอดขาย เป็นต้น และจะระบุปัญหาที่ผู้ประกอบการควรเร่งแก้ไขและมีความเป็นไปได้ในการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้สถาบันฯ จะจัดส่งรายงานวินิจฉัยฉบับเต็มหลังจากได้รับการตรวจสอบแล้ว