กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้พัฒนาโครงการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบ แฟรนไชส์ หรือ B2B มาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้ระบบแฟรนไชส์ไทยมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน ทุกๆ ปีมีเป้าหมายจะสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเพิ่มขึ้น และมีมาตรฐานคุณภาพ
นางสาวรัตนา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์รุ่นที่ 17 เพื่อสร้างความพร้อมธุรกิจก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ เมื่อวันพุธที่ 3 ธันวาคม 2557 ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า http://goo.gl/I2MjVf
(เก้าอี้หน้า จากซ้ายไปขวา) ผู้อำนวยการกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และรองอธิบดีกรมพัฒนาการค้าธุรกิจ และวิทยากรคุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ ถ่ายรูปร่วมกับผู้เข้าสัมมนาโครงการฯ
คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กำลังบรรยายแหล่งรายได้ต่างๆ ในธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งนี้ แหล่งรายได้ของ Franchisor คือต้นทุนของ Franchisee
คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนกลยุทธ์ แฟรนไชส์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ ความรู้พื้นฐานธุรกิจ แฟรนไชส์ (Introduction to Franchising) และจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ทั้งนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เชิญคุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ เป็นวิทยากรในหัวข้อดังกล่าวตั้งแต่รุ่นที่ 13 และเชิญให้เป็นผู้ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553
หัวข้อในการอบรม
- นิยามคำว่า แฟรนไชส์ (Franchise) และคำที่เกี่ยวข้องได้แก่ แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) แฟรนไชส์ซี (Franchisee) สัญญาแฟรนไชส์ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) ค่ารอยัลตี้ (Royalty Fee) ค่าการตลาด (Advertising Fee) เป็นต้น
- ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของระบบ แฟรนไชส์ ในมุมมองของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี
- คำถามที่จำเป็นในการตัดสินใจเมื่อเริ่มวางแผนสร้างธุรกิจให้เข้าสู่ระบบ แฟรนไชส์
- แบบประเมินตนเองสำหรับผู้สนใจธุรกิจ แฟรนไชส์ (Franchisor Self-Assessment)
- คุณสมบัติของธุรกิจที่จะเป็นแฟรนไชส์ได้
- ประวัติความเป็นมาของแฟรนไชส์ของโลก และในประเทศไทย
- รูปแบบของการทำแฟรนไชส์ Product/Service or Branding Franchising, Business Formant Franchising, และ Conversion Franchising
- ลักษณะของการให้สิทธิในระบบแฟรนไชส์ ได้แก่ Individual Franchise, Master Franchise, Area Development Franchise และ Sub-Franchise
- ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ กับธุรกิจด้านลิขสิทธิ์อื่นๆ (Franchising VS. Licensing)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ และ Multilevel Marketing
- ปัญหาของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
มีกิจการเข้าร่วมโครงการนี้มากกว่า 150 กิจการ ได้แก่ธุรกิจอาหาร ธุรกิจบริการ ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจประกอบรถยนต์ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจเสริมความงาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจสปา ธุรกิจไอที และธุรกิจที่ปรึกษา เป็นต้น